นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการ โดยศูนย์ CMC ได้กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมทุกแห่ง แจ้งประชาสัมพันธ์พร้อมส่งหนังสือไปยังหน่วยงานในสังกัดและสถานประกอบการโรงงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) การนิคมอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เรื่อง กำกับติดตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble & Seal) ในสถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ เพื่อขอความร่วมมือและควบคุมสถานการณ์การระบาดให้อยู่ในวงจำกัด โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ในโรงงานอุตสาหกรรม และลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากการหยุดกิจการ
โดยให้ดำเนินการในมาตรการสำคัญ อาทิ เร่งรัดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาดในพื้นที่ความรับผิดชอบประเมินตนเองด้วย Platform Online Thai Stop Covid Plus พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำในรูปแบบ Coaching/Training แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน เกี่ยวกับการจัดทำมาตรการ Bubble & Seal เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ลดความเสี่ยงแพร่ระบาด
ตลอดจนเน้นย้ำกลุ่มอุตสาหกรรม 10 ประเภทที่พบการติดเชื้อสูงสุดในปี2564 ให้จัดทำตามมาตรการ Bubble & Seal อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้ฝ่ายเลขาฯ ศูนย์ CMC ทราบ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
และแนะนำให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T
ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง อีกทั้งไม่ให้โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้
นายกอบชัย กล่าวต่อไปอีกว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้เร็วขึ้น
โดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวัง และขับเคลื่อนมาตรการทางสาธารณสุขโดยเฉพาะมาตรการ Bubble & Seal เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างจริงจัง
ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกิดคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม จนเป็นเหตุให้ต้องปิดกิจการส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการโรงงานระลอกใหม่ (เดือนมกราคม–6 มีนาคม 2565) พบโรงงานที่มีการระบาดจำนวน 239 โรงงาน ผู้ติดเชื้อรวม 3,264 คน มีโรงงานที่ร่วมมาตรการ Bubble and Seal จำนวน 2,338 โรงงาน ซึ่งเกินเป้าหมายที่วางไว้ที่ 1500 โรงงาน
สำหรับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสะสมรวมสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่
ขณะที่อุตสาหกรรม 10 ประเภท ที่พบการติดเชื้อสูงสุดในปี2564 ได้แก่