ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการการพลังงาน(กมธ.) สภาผู้แทนราษฎรได้ จัดสัมมนาที่เชียงใหม่เรื่อง “นวัตกรรมพลังงานในอนาคตเพื่อสังคมคาร์บอนต่ำ” ส่งเสริมพลังงานทางเลือกลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนชนิดอื่นในอนาคต จากเป็นพลังงานสะอาด เสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ตามศักยภาพพื้นที่ ผลิตไฟฟ้าตามแผนพัฒนาผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561–2580 (PDP 2019 Revision 1) ตามที่รัฐส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 16,243 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซเรือนกระจก ลง 20–30% ในปี 2573
นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เผยว่า คณะกรรมาธิการการพลังงาน ได้จัดสัมมนา “นวัตกรรมพลังงานในอนาคตเพื่อสังคมคาร์บอนต่ำ” เพื่อศึกษาข้อมูลและความคิดเห็นในการนำนวัตกรรมพลังงานมาใช้ เพื่อการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีนายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัด ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการฯ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมการสัมมนาจำนวนมาก
สำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) คือ หนึ่งในมาตรการสำคัญของ “องค์กรโลก” ที่ช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อม จากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน”
หลายประเทศในโลกจึงมุ่งที่จะกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน โดยการปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาประเทศไปสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ”
ที่ผ่านมาสถานการณ์ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นของประเทศไทยลดลง และเกิดผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานปิโตรเลียมสูงขึ้น การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงสะอาด เป็นทางเลือกการพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงานจำเป็นต้องมีการดำเนินการส่งเสริมอย่างจริงจังเข้มข้น
คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้ตะหนักถึงความสำคัญของการนำนวัตกรรมพลังงาน ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และมีต้นทุนต่ำมาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอย่างยั่งยืน จึงได้กำหนดจัดสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมการนำนวัตกรรมพลังงานมาใช้ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตลอดจนถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานด้วยนวัตกรรมเพื่อสังคม และนวัตกรรมพลังงานในอนาคตเพื่อสังคมคาร์บอนต่ำ
ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ และแนวโน้มการนำพลังงานไฟฟ้าไปเป็นเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ในอนาคต มีมากขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เนื่องจากเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด และสามารถส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตามศักยภาพพื้นที่ เพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP 2019 Revision 1)
โดยมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 16,243 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 จากโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์โซล่าลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลม ขยะอุตสาหกรรม โรงฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานเป็นสำคัญ และยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกลง ถึงร้อยละ 20 – 30 ภายในปี 2573 ตามที่แสดงเจตนารมณ์ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 21)
ทั้งนี้คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร จะได้รวบรวมความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ จากการสัมมนาในครั้งนี้ เสนอให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรัฐบาลพิจารณาและปรับปรุงการส่งเสริม และพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย ให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันต่อไป
อนึ่ง “สังคมคาร์บอนต่ำ” (Low Carbon Society) คือ หนึ่งในมาตรการสำคัญของ “องค์กรโลก” ที่ช่วยลดภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming)
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญและเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ
ภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ ปัญหาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนในทุกวันนี้ จึงมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
หลายประเทศในโลกจึงมุ่งที่จะกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน โดยการปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาประเทศไปสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ”