“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ”ชนวนวิกฤตยูเครนบานปลาย จากโลกโซเชียล

06 เม.ย. 2565 | 12:38 น.
อัปเดตล่าสุด :06 เม.ย. 2565 | 20:08 น.

“ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับบทความชิ้นที่ 43 เตือน“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ”ชนวนวิกฤตยูเครนลุกลามบานปลายจากความเชื่อโลกโซเชียล

 

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2565 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโพสต์Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala บทความชิ้นที่ 43  มีรายละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ติดตาม วิกฤตยูเครน และ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง

 

โดยเตือนว่าก่อนหน้าสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประชาชนยุโรปล้วนออกมาเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลของตน ฮึกเหิมต่อการรบเพราะแต่ละรัฐบาลใช้สื่อ ยกระดับความความไม่พอใจของประชาชนของตน ต่อประเทศคู่ขัดแย้ง เป็นขั้นตอน ไม่ต่างจากโซเชียลสมัยนี้

 

“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ”ชนวนวิกฤตยูเครนบานปลาย จากโลกโซเชียล

ทำให้ประชาชนฝันชนะสงคราม แต่ผลที่เกิดขึ้นจริง ความตายหลายล้านคนรออยู่ข้างหน้า

 

ภาพที่แสดงฆาตรกรรมพลเรือน ที่เมืองบูชา หลังจากรัสเซียทิ้งที่มั่นนี้ ทำให้ยุโรปจะต้องหยุดซื้อพลังงานทุกอย่างจากรัสเซีย (รัสเซียปฏิเสธ อ้างว่าเป็นการจัดฉาก)

 

รูป 1 รัสเซียมีรายรับจากพลังงานทุกรูปแบบ (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) บลูมเบิร์กคาดว่าปี 2022 จะสูงเกิน 3 แสนล้านดอลลาร์

“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ”ชนวนวิกฤตยูเครนบานปลาย จากโลกโซเชียล

ในเรื่องก๊าซ ถึงแม้ยุโรปจะหันไปใช้ LNG แทน แต่ก็ต้องใช้เวลาสร้างท่าเรือและอุปกรณ์ท่ออีก 3-5 ปี

 

ส่วนท่อก๊าซ ที่รัสเซียจะสร้างเพื่อส่งก๊าซไปจีนแทนนั้น ก็คงต้องใช้เวลา 3-5 ปีเช่นกัน

“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ”ชนวนวิกฤตยูเครนบานปลาย จากโลกโซเชียล

ดังนั้น รัสเซียย่อมจะได้ประโยชน์มากกว่า ถ้าหากยังสามารถขายก๊าซให้ยุโรปไปได้ จนนาทีสุดท้าย

แต่ในเรื่องน้ำมันและถ่านหิน ยุโรปสามารถหันไปซื้อจากแหล่งอื่นได้ทันที เพียงแต่ราคาจะแพงขึ้นเท่านั้น

สรุปแล้ว รัสเซียล็อคบิดแขนยุโรปได้เต็มที่ ก็เฉพาะเรื่องก๊าซ

ในรูป 2 ประเทศที่พึ่งก๊าซรัสเซียเป็นสัดส่วนสูงมาก เทียบกับพลังงานทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจเล็กยุโรปตะวันออก

ซึ่งมีโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่มาก สามารถพลิกแพลงได้ และบางประเทศมีท่าเรือรองรับ LNG อยู่พร้อมแล้ว

แต่สามประเทศใหญ่ เยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ มีสัดส่วน 30-40% ซึ่งในระยะสั้นพลิกแพลงได้ยากมาก

อย่างไรก็ดี ล่าสุด ได้มี 2 เหตุการณ์ที่น่าติดตาม

หนึ่ง ผมเคยวิเคราะห์ว่า เยอรมนีมีสำรองก๊าซอยู่ 25% ของความจุแหล่งเก็บใต้ดินในประเทศ แต่ในส่วนนี้ เป็นแหล่งที่ Gazprom เช่าไว้บางส่วน

สำรองอาจจะเป็นของ Gazprom ถึง 15% ซึ่งจะเหลือเป็นของเยอรมนีเองเพียง 10% จึงต้องติดตามว่า รัฐบาลเยอรมันจะยึดสำรองก๊าซของ Gazprom เอาไปหรือไม่

เมื่อวานนี้ รูป 3 รัฐบาลเยอรมันได้ยึดบริษัทลูกของ Gazprom เรียบร้อยแล้ว

FT รายงานว่า รัสเซียได้โอนหุ้นในบริษัทลูกไปให้บุคคลอื่น (อาจจะเพื่อต่องการให้หลุดพ้นจากกฎแซงชั่น) โดยเจ้าของใหม่ได้สั่งให้เริ่มขบวนการยุบเลิกบริษัท รูป 4

รัฐบาลเยอรมันอ้างว่า การดำเนินการดังกล่าวฝ่าฝืนกติกา และทำให้ทางการมีสิทธิยึดบริษัทชั่วคราว

จึงต้องติดตามต่อไปว่า รัสเซียจะมีปฏิกริยาตอบโต้หรือไม่ อย่างไร

สอง ในเรื่องตลาดทุน ที่ผ่านมา กระทรวงคลังสหรัฐยอมให้รัฐบาลรัสเซียชำระดอกเบี้ยหนี้สกุลดอลลาร์ รวม 5 ครั้ง นับแต่เริ่มสงคราม

แต่ล่าสุด ได้เปลี่ยนท่าทีแล้ว เบรกการชำระหนี้ ทั้งดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระปลายเดือน มี.ค. และที่สำคัญมาก ก็คือเงินต้น 2 พันล้านดอลลาร์ที่ครบกำหนดชำระ 4 เม.ย.

อันที่จริง รัสเซียมีบัญชีดอลลาร์จากการขายพลังงาน ที่ยังไม่ถูกแซงชั่น แต่ได้วางหมาก สั่งจ่ายชำระดอกเบี้ยออกจากบัญชีทุนสำรองมาตลอด

สหรัฐจึงต้องการบีบให้รัสเซียไปใช้เงินจากบัญชีแรกแทน เพื่อไม่ให้เอาเงินจากขายพลังงาน ไปหนุนสงคราม

มาตรการของกระทรวงคลังสหรัฐ ทำให้เกิดหนี้สูญจำนวนมากขึ้นฉับพลัน จึงต้องจับตาว่าตลาดเงินตลาดทุนจะปรับตัวรับอย่างไร

 

(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)

หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ