วันนี้ (22 เม.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 7/2565 โดย ศบค. ได้สรุปแผนเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย 5-17 ปี พร้อมทั้งสรุปแผนบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 เดือนพฤษภาคม ดังนี้
แผนการเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย 5-17ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565
คนละครึ่งเฟส 5 www.คนละครึ่ง.com หลัง นายกฯส่งสัญญาณ ลงทะเบียนวันไหน
ฉีดวัคซีนเข็ม 3 เด็กฉีดไฟเซอร์ครึ่งโดสได้
พร้อมกันนี้ผลการศึกษาการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เข็มกระตุ้น ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปี ที่มีประวัติการได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ครบ 2 เข็ม พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันชนิดลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อโอมิครอนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ทั้งการฉีดกระตุ้นเข็มขนาดเต็มโดสและครึ่งโดส โดยขนาด 15 ไมโครกรัม มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส 88 % ส่วนขนาด 30 ไมโครกรัม มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัส 93 %
ส่วนการรับวัคซีนครึ่งโดสมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังการฉีดน้อยกว่าการรับวัคซีนขนาดเต็มโดส เพราฉะนั้น ผลการป้องกันไม่แตกต่างกัน จึงฉีดเข็มกระตุ้นแบบครึ่งโดสได้ ซึ่งผู้ปกครองสามารถขอรับแบบครึ่งโดสได้ มีระยะห่างจากเข็มที่ 2 ตั้งแต่ 4-6 เดือนขึ้นไป ตามความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก เริ่มดำเนินการผ่านระบบสถานศึกษา 9-31 พ.ค.2565
สำหรับแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 เดือนพ.ค.2565 จำนวน 7 ล้านโดส แยกได้ดังนี้
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป -ผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี และผู้ที่มีอายุ 12-17 ปี สูตรเชื้อตาย2เข็ม-แอสตราฯ-แอสตราฯ ,เชื้อตาย 2 เข็ม-ไฟเซอร์-ไฟเซอร์,ซิโนแวค-แอสตราฯ-แอสตราฯ-แอสตราฯ,แอสตราฯ-แอสตราฯ-ไฟเซอร์-ไฟเซอร์ ,ไฟเซอร์เข็มกระตุ้นในอายุ 12-17 ปี 4 ล้านโดส
ความคืบหน้าข้อบ่งใช้ 5 กลุ่มต้องฉีด LAAB
ความคืบหน้าการพิจารณาข้อบ่งใช้ Long Acing Antibody (LAAB) จากที่ประชุมคณะกรรมกมารด้านวิชาการ ตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เมื่อวันที่ 19 เม.ย.2565 มีมติดังนี้
คาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ ประมาณ 5 แสนราย ใน 5 กลุ่ม คือ
1.ผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ระหว่างการได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและฉายแสง ประมาณ 2 แสนราย
2.ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่รักษาด้วยการบำยัดทดแทนไต ประมาณ 2 แสนราย
3.ผู้ป่วยโรคข้อและแพ้ภูมิตนเอง ที่ต้องรักษาด้วยการใช้ยากดภูมิ ประมาณ 10,000 คน
4.ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ต้องได้รับยากดภูมิขนาดสูง ประมาณ 10,000 ราย
5.ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำอื่นๆ เช่น ผู้ป่วย HIV ที่มีเม็ดเลือดขาว CD4ต่ำ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันจากโรคอื่นๆ ประมาณ 80,000 ราย.
ที่มา: ศบค.