การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุด มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจนำเสนอให้กับที่ประชุมเห็นชอบ นั่นคือ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566 – 2570 ภายใต้แผนนี้กำหนดเป้าหมายไว้น่าสนใจ โดยเฉพาะรายได้ต่อหัวคนไทยต้องขยับไปเท่ากับ 9,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี หรือประมาณ 300,000 บาท
จากการพิจารณาตัวเลขรายได้ต่อหัวคนไทยในปัจจุบันพบว่า ยังคงมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำ โดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เปิดเผยตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบข้อมูลย้อนหลังในแต่ละปี มีรายละเอียด ดังนี้
อย่างไรก็ตามในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมครม.ครั้งนี้ ก็ถือว่ามีความท้าทายไม่น้อย หากจะผลักดันให้รายได้ต่อหัวคนไทยปรับขึ้นไปได้ถึงเป้าหมาย โดยตามแผนฉบับดังกล่าว ได้กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติครม.ว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ถือเป็นแผนระดับที่ 2 ตามแผนกำหนดให้เป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไปคือปี 2566 – 2570
เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ มีสาระสำคัญผ่านหลักการและแนวคิด 4 ประการคือ
ขณะที่เป้าหมายหลักของการพัฒนามี 5 ประการ มีดังนี้
สำหรับในแนวทางการผลักดันให้การขับเคลื่อนแผนเป็นไปตามเป้าหมาย สศช. กำหนดหมุดหมาย หรือแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ไว้ทั้งหมด 13 หมุดหมาย จำแนกออกเป็น 4 มิติ ดังนี้
1.มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย จำนวน 6 หมุดหมาย ได้แก่
2.มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม มี 3 หมุดหมาย ได้แก่
3.มิติความยั่งยืน ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี 2 หมุดหมาย ได้แก่
4.มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ มี 2 หมุดหมาย ได้แก่
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า หลังจาก ครม. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาฯ แล้ว ได้มอบหมายให้ สศช.นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ต่อรัฐสภาเพื่อทราบ ก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ต่อไป