จากกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.เชิญชวนประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ทุกสิทธิรักษา ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ! ถึงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
สำหรับ 7 กลุ่มเสี่ยง
ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) ในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้มีไข้ ไอ น้ำมูก คัดจมูก จาม อาจมีอาการปวดเมื่อตามตัว อ่อนเพลียคล้ายกับไข้หวัด แต่อาการจะรุนแรงกว่า นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดลมและปอดอักเสบ นอกจากนั้นยังทำให้โรคประจำตัวมีอาการกำเริบจากการติดเชื้อ เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, โรคเกี่ยวกับตับและไต ซึ่งมีการระบาดเป็นช่วงๆ ในหน้าฝนและหน้าหนาว เป็นเชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้
เพราะทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การแนะนำวิธี ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด ได้แก่
โดยชนิด 4 สายพันธุ์สามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B ได้มากกว่า กล่าวคือครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A ทั้ง H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ทั้งตระกูล Victoria และ Yamagata จึงเพิ่มความสามารถในการครอบคลุมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาด ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ดีขึ้น
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ควรฉีดเป็นประจำทุกปี เนื่องจากวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปี เป็นเชื้อต่างชนิดกันและบางสายพันธุ์คาดการณ์การระบาดได้ยาก ดังนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้มีภูมิคุ้มกันสูงตลอดเวลาและครอบคลุมสายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้นๆให้มากที่สุด โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด
การติดต่อ
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร
ควรฉีควัคซีนเมื่อไหร่
“วัคซีน” ต้องฉีดซ้ำหรือไม่
สังเกตอาการข้างเคียง
การดูแลรักษาอาการข้างเคียง
ใครไม่ควรฉีดวัคซีนหรือควรเลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
6 วิธีป้องกันโรคยอดฮิต
ที่มา:โรงพยาบาลธนบุรี