หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี"ตรัง"ผงาดประตูอันดามันใต้

16 พ.ค. 2565 | 08:09 น.
อัปเดตล่าสุด :16 พ.ค. 2565 | 15:22 น.

   ตรังปลื้มเปิดประเทศคนเข้าจังหวัดเพิ่ม ขณะที่แผนลงทุนพัฒนาสนามบินเดินหน้า ทั้งขยายรันเวย์ข้ามทางรถไฟยาวเฉียด 3,000 เมตร เทอมินัลใหม่ เสร็จใน 4 ปี หอการค้าตรังมั่นใจพร้อมเป็นประตูสู่อันดามันใต้ เดินหน้าการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่รัฐบาลออกนโยบายผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดเชื้อโควิด-19  ยกเลิกระบบ Test & Go ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยได้สะดวกขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเข้าไทยผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต กระบี่ กันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงท่าอากาศยานตรังก็ได้รับผลดี เมื่อมีนักท่องเที่ยวจากเที่ยวบินต่างประเทศ มาลงสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ สนามบินดอนเมือง ได้ต่อเครื่องบินมาลงสนามบินตรังได้อย่างสะดวก

 

พ.จ.อ.เมืองชล  วงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานตรัง เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า หลังจากรัฐบาลมีนโยบายเปิดประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในส่วนของสนามบินตรังมีผู้โดยสารเดินทางโดยเครื่องบินเพิ่มมากขึ้น ดูจากตัวเลขของสายการบินที่รับส่งผู้โดยสาร

ผู้โดยสารเดินทางเข้าตรังผ่านสนามบินตรังเพิ่มหลังเปิดประเทศ

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

อีกทั้งนักท่องเที่ยวเดินทางมาจ.ตรังจะได้รับความสะดวกสบาย โดยผู้โดยสาร หรือนักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางมาจากสนามบินสุวรรณภูมิมาสนามบินตรัง ขณะนี้มีสายการบินไทยสมายล์ ทำการบินวันละ 1เที่ยวบินไปกลับ 

 

ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสนามบินดอนเมืองมาสนามบินตรัง ก็มีสายการบิน ไทยไลออนแอร์ ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ทำการบินทุกวัน  ส่วนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาตรังขณะนี้ก็ได้รับความสะดวกมากขึ้น เพราะอาคารที่พักผู้โดยสารปัจจุบัน สามารถรองรับเครื่องบินลงมาจอดพร้อมกันได้ 2 ลำ ใน 1 ชั่วโมง หรือรองรับผู้โดยสารได้ 600 คน

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

 

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

ขณะที่กิจการร่วมค้าเอ็นทีเอช (NTH)  ผู้รับจ้าง กำลังดำเนินการก่อสร้างขยายทางวิ่งเครื่องบิน หรือ”รันเวย์” ไปทางทิศตะวันตกของสนามบินภายในรั้วสนามบิน  โดยการปรับพื้นที่ นำต้นไม้ออก เตรียมถมดิน เพื่อให้ได้ความยาวกว่า 3,000.เมตร ตามแบบจะต้องตัดเขานุ้ยลงอีก เพื่อให้เครื่องบินสามารถร่อนลงจอดได้สะดวก ปลอดภัย  จากปัจจุบันที่ความสูงของเขานุ้ย ยังเป็นอุปสรรคต่อการทำการบินของนักบิน  ในการลดระดับของเครื่องบินลงสู่ท่าอากาศยานตรัง

 

ทั้งนี้ ผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าไป 1% จากเหตุมีฝนตกทุกวัน โดยช่วงนี้ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการก่อสร้างภายในที่ดินของสนามบิน คือภายในรั้วสนามบิน ความยาวที่สามารถก่อสร้างได้ในขณะนี้ประมาณ 400-500 เมตร   และงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้รันเวย์

ผู้รับจ้างเริ่มปรับพื้นที่ ขุดต้นไม้ออก เตรียมถมดินขยายรันเวย์สนามบินตรัง ในเขตรั้วสนามบินปัจจุบัน

เนื่องจากเมื่อเลยทางรถไฟเป็นที่ดินของประชาชน ที่มีการสำรวจเพื่อเวนคืนอีกจำนวน 648 ไร่ เป็นเงินงบประมาณ 860ล้านบาท ขณะนี้รอประกาศในพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) เวนคืน เพื่อนำมาจ่ายเงินอาสินให้เจ้าของที่ดินตามแนวเวนคืน ที่มีการสำรวจไว้แล้ว ความยาวทางวิ่งที่ผ่าน EIA ชุดเล็ก คือ ยาว 2,990 เมตร กว้าง 45 เมตร

 

เมื่อการก่อสร้างสนามบินตรังเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญาคือ เดือนมกราคม 2568 แล้ว เครื่องบินเที่ยวบินในประเทศต่างประเทศทุกชนิด สามารถบินขึ้นลงได้ทั้งกลางวันกลางคืน ฝนตก หมอกลงจัด นักบินก็สามารถนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย เพราะจะมีการติดตั้งเครื่องนำร่องการบินแบบมาตรฐาน จากปัจจุบันที่ต้องอาศัยอาศัยสายตานักบินในการนำเครื่องลงจอด หากมีฝนตกหนักหรือหมอกลงจัด เมื่อนักบินมองไม่เห็นสนามบินและรันเวย์ ก็ไม่สามารถนำเครื่องลงจอดได้ ต้องนำเครื่องบินไปจอดท่าอากาศยานหาดใหญ่ที่มีระบบนำร่องช่วยการลงจอดบ่อยครั้ง

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

รวมทั้ง เมื่อการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ เพื่อรองรับเที่ยวบินในประเทศและต่างประเทศได้ชั่วโมงละ 1,200 คน มีประตูงวงช้าง 4 ตัว ลานจอดหน้าอาคารหลังใหม่ สามารถจอดเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737 และ แอร์บัส 320 จอดพร้อมกันได้ 10 ลำ และทางวิ่งเครื่องบินความยาว 2,990.เมตร กว้าง 45 เมตร แล้วเสร็จ จะพร้อมรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น โบอิ้ง  747,  757,   767, 777,  787, แอร์บัส 330 ,340,350 ,380 จะทำให้ท่าอากาศยานตรัง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติเต็มรูปแบบ นับแต่ได้รับประกาศเป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2542

 

ด้านนายธีรวัฒน์  หวังศิริเลิศ  ประธานหอการค้าตรัง เปิดเผยว่า อีกประมาณ 4 ปีข้างหน้า หากมีการเปิดใช้สนามบินตรังเต็มรูปแบบ ทิศทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง จะไปในทิศทางที่ดี การท่องเที่ยวกระแสหลัก หากมีการทำตลาดนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าจังหวัดตรัง เปิดเที่ยวบินตรง เช่น จากจีน ยุโรป หรือกลุ่มสแกนดิเนียเวีย ก็จะเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง 

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

นอกจากนั้นยังเป็นผลดีต่อเนื่องถึงการท่องเที่ยวของพัทลุงและสตูลอีกด้วย ที่จะได้มาใช้ท่าอากาศยานที่ตรัง ที่ผ่านมาสนามบินภูเก็ต กระบี่ เมื่อเที่ยวบินแออัดก็สามารถเปิดบินมาลงตรัง เพื่อระบายนักท่องเที่ยวได้ เพราะเครื่องบินสามารถจอดค้างคืนสนามบินตรังได้

 

ส่วนทิศทางของหอการค้าตรังปีนี้และอนาคต จะร่วมกับการกีฬาแห่งประเทสไทย(กทท.) เพื่อจัดการแข่งกีฬาในจังหวัดตรัง ให้มีการแข่งขันทุกระดับ ทุกประเภท ที่สามารถจัดการแข่งขันได้ สิ่งที่สำคัญทางกกท. และเทศบาลนครตรัง ต้องจัดสรรงบประมาณมาสำหรับสร้างสนามกีฬา เพื่อการแข่งขันที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีการบรรจุชนิดกีฬา ที่จะลงมาแข่งขันที่ตรังให้ได้มากที่สุด เมื่อมีกีฬา มีการท่องเที่ยว การเดินทางโดยเฉพาะเครื่องบินก็จะติดตามมาในอนาคต

หอการค้าฯมั่นใจขยายสนามบิน4ปี\"ตรัง\"ผงาดประตูอันดามันใต้

หอการค้าตรังเห็นด้วยที่จะให้มีการผลักดันสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปะเหลียน เชื่อมกันตัง-หาดสำราญ เพื่อย่นระยะการเดินทาง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวทะเลจังหวัดตรังทิศใต้ติดจังหวัดสตูลเพิ่มมากขึ้น  นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางกับเรือจาก อ.กันตังและ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง ไปยังเกาะหลีเป๊ะ สตูล ก็จะได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น  

 

นักท่องเที่ยวลงเครื่องบินสนามบินตรัง เดินทางมาท่าเรือกันตัง ใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที ถึงท่าเรือแล้วจะนั่งเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้นรวดเร็ว แต่การเดินทางโดยสารและท่องเที่ยวต้องพร้อมบริการ ในอนาคตเชื่อว่าทิศการค้าการลงทุนและท่องเที่ยวเศรษฐกิจจะดีขึ้น