โรคฝีดาษลิง Monkeypox ล่าสุด กรมควบคุมโรค แจ้งยังไม่พบติดเชื้อในประเทศ

23 พ.ค. 2565 | 17:50 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ค. 2565 | 21:24 น.

โรคฝีดาษลิง Monkeypoxล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจ้งยังไม่พบติดเชื้อในประเทศ ยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง

โรคฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แจ้งยังไม่พบติดเชื้อในประเทศ ยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง

ล่าสุดกรมควบคุมโรครายงานสถานการณ์ โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) วันที่ 23 พฤษภาคม 2565

 แพร่กระจายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวม 17 ประเทศ

  • อสเตรีย
  • กรีซ
  • นอร์เวย์
  • ประเทศไทยยังคงเฝ้าระวังและยังไม่พบการติดเชื้อในประเทศ

 

 

 

สถานการณ์โรคฝีดาษลิง

 

 

 

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากรายงานข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก กรณีสหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงนั้น กรมควบคุมโรคในฐานะที่เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ป้องกันควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรณีโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เพื่อเฝ้าติดตามสถานการณ์ แนวโน้ม พร้อมทั้งคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจัดทำแผนทั้งในระยะยาว ระยะกลาง ในการปรับปรุงกลยุทธ์ และมาตรการให้เหมาะสม

 

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงการณ์ยืนยันว่า พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงแล้วประมาณ 80 ราย และมีผู้ป่วยสงสัยเป็นฝีดาษลิงอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 50 ราย ใน 11 ประเทศที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคฝีดาษลิงและมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในอีกหลายประเทศ โดยผู้ป่วยรายแรกที่พบในการระบาดครั้งนี้เป็นผู้ป่วยในประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ ที่มีประวัติเดินทางไปยังประเทศไนจีเรียช่วงปลายเดือนเมษายน ด้วยเหตุนี้ ทางประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษจึงเริ่มดำเนินการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ซึ่งในขณะนี้พบผู้ป่วย กว่า 100 รายแล้ว จาก 15 ประเทศ ได้แก่

  • สหราชอาณาจักรอังกฤษ
  •  สเปน
  •  โปรตุเกส
  •  อิตาลี
  • เบลเยียม
  • ฝรั่งเศส
  • เยอรมันนี
  •  สวีเดน
  • สหรัฐอเมริกา
  •  แคนาดา
  • ออสเตรเลีย
  •  อิสราเอล
  •  เนเธอร์แลนด์
  • สวิตเซอร์แลนด์
  • และกรีซ

 

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง อย่างไรก็ตามในระยะนี้ เป็นช่วงที่เริ่มเปิดให้มีการเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น และเป็นช่วงเตรียมการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นของโรคโควิด 19 ดังนั้น อาจมีความเสี่ยงจากผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ สหราชอาณาจักรอังกฤษ สเปน โปรตุเกส อิตาลี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมันนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดาและออสเตรเลีย หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในทวีปแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตกได้ ทั้งในช่องทางการเข้า-ออกระหว่างประเทศ หรือผู้ที่เดินทางจากประเทศดังกล่าวไปในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ  จากข้อมูลกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค ได้รายงานว่า จำนวนผู้เดินทางที่ลงทะเบียนจากประเทศเสี่ยงสูง ได้แก่ สหราชอาณาจักร สเปน โปรตุเกส โดยระหว่างวันที่ 1-22 พ.ค. 65 นี้ มีผู้เดินทางจากสหราชอาณาจักร จำนวน 13,142 คน จากสเปน 1,352 คน และโปรตุเกส 268 คน.

 

ที่มา: กรมควบคุมโรค