จากกรณี ร้านดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) บุฟเฟ่ต์แซลมอนชื่อดัง ได้เปิดขายวอยเชอร์ (e-Voucher) บุฟเฟ่ต์ในราคาหัวละ 199 บาท จนคนแห่เข้าไปจองซื้อจำนวนมาก แต่สุดท้ายผู้ที่จองคิวเอาไว้ไปใช้บริการไม่ได้ จนล่าสุดมีผู้เสียหายไปร้องเรียนกับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นั้น
ล่าสุด พ.ต.อ.ประทีป เจริญกัลป์ รองเลขาธิการ สคบ. พร้อมด้วย นายจิติภัทร์ บุญสม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา สคบ. พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านดารุมะ ซูชิ และ บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะแจส รามอินทรา แต่กลับพบว่า บริษัทดังกล่าวได้ปิดเงียบไม่มีใครอยู่
พ.ต.อ.ประทีป ระบุกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขั้นตอนจากนี้ สคบ.จะเร่งตรวจสอบผู้ที่เสียหาย ซึ่งปัจจุบันมีผู้บริโภคเข้ามาร้องเรียนกับ สคบ.มากถึง 400-500 ราย และเร็ว ๆ นี้ จะทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของบริษัทมาชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่ามีความผิดชัดเจน เพราะเป็นการกระทำผิดทางด้านสัญญา และโฆษณา และอาจเข้าข่ายการฉ้อโกงด้วย
“ตามกฎหมายของสคบ.จะต้องเชิญผู้เสียหาย และเจ้าของมาให้ข้อมูล และสอบปากคำทั้ง 2 ข้าง เพื่อจะได้รู้ว่าข้อเท็จจริง ซึ่งตอนนี้ได้ฟังจากทางฝ่ายผู้ร้องแล้ว เหลือเพียงทางเจ้าของที่จะเชิญมาชี้แจง แต่ตอนนี้มีการรายงานข้อมูลมาว่า เจ้าของร้านอาจจะหนีออกนอกประเทศไปแล้ว” พ.ต.อ.ประทีป กล่าว
อย่างไรก็ตาม สคบ. ขอแจ้งอีกครั้ง ระบุว่า ผู้บริโภคโปรดระวัง เพราะขณะนี้ยังปรากฏว่า ร้านดารุมะ ซูชิ ร้านดารุมะ ซูชิ ยังมีการโฆษณาขาย e-Voucher ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ หากผู้ประกอบการหรือผู้โฆษณารายใด จัดทำโฆษณา อาจมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และสคบ.จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาดต่อไป
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบข้อมูลดังนี้
บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด
กรรมการ
ผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบข้อมูลงบการเงินบริษัท ซึ่งนำส่งในปี 2564 พบข้อมูลสินทรัพย์รวมบริษัท รายได้ และผลประกอบการ รวม 5 ปี โดยบริษัท มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลัง มีรายได้รวมเกือบ 50 ล้านบาท และมีกำไรในช่วง 3 ปีหลังตกปีละ 1 ล้านบาท ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สินทรัพย์รวม
รายได้รวม
ผลกระกอบการ
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากกรณีร้านดารุมะ ซูชิ สามารถร้องเรียนผ่านช่วงทางต่าง ๆ ดังนี้