ตะลึง ! การค้าจีน 5 เดือนแรกพุ่ง 85 ล้านล้านบาท ค้ากับไทยโต 86%

09 ก.ค. 2565 | 06:42 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ก.ค. 2565 | 14:04 น.

การค้าระหว่างประเทศจีน 5 เดือนแรก ยังเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ขยายตัวกว่า 8% มูลค่า 85 ล้านล้านบาท มณฑลกวางตุ้ง เจียงซู เจ้อเจียง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ซานตง นำ 6 อันดับแรก ส่งออกยังมากกว่านำเข้าส่งผลยังเกินดุลการค้ากว่า 9.8 ล้านล้านบาท Zero Covid อุปสรรคค้าไทย-จีน

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต.) ณ เมืองชิงต่าว สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานโดยอ้างข้อมูลจากสื่อของจีนระบุว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ประกาศตัวเลขการค้าระหว่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ.2565) ของจีน มีมูลค่ำ 16.04 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 85.01 ล้านล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน เท่ากับ 5.3 บาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 (YoY) แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 8.94 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 47.38 ล้านล้านบาท  ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.4 (YoY) และการนำเข้ามูลค่า 7.09 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 37.58 ล้านล้านบาท ขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 (YoY) ทำให้ภาพรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้การค้าระหว่างประเทศของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ

 

สำหรับการค้าระหว่างประเทศของแต่ละมณฑล / เมืองในจีนช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ พบว่า มี 6 มณฑล/ เมือง ที่มียอดการค้าระหว่างประเทศทะลุ 1 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 5.3 ล้านล้านบาท ได้แก่ อันดับ 1 มณฑลกวางตุ้งมีมูลค่า 3.21 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 17.01 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20

 

 

รองลงมา ได้แก่ มณฑลเจียงซู  2.13 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 11.29 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.27, มณฑลเจ้อเจียง 1.83 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 9.70 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.39, มหานครเซี่ยงไฮ้ 1.50 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 7.95 ล้านล้านบาท, กรุงปักกิ่ง 1.40 ล้านล้านหยวน หรือ ประมาณ 7.42 ล้านล้านบาท มณฑลชานตง 1.27 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 6.73 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

 

ตะลึง ! การค้าจีน 5 เดือนแรกพุ่ง 85 ล้านล้านบาท ค้ากับไทยโต 86%

 

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ของ 19 มณฑล/ เมืองที่มี อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศที่ร้อยละ 8.3 พบว่า มี 6 มณฑล/ เมืองที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 30

 

โดยอันดับ 1 เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2 รองลงมา ได้แก่ มณฑลไห่หนาน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 และมณฑลชิงไห่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.8 ตามลำดับ

 

 

ด้านมณฑลกวางตุ้งที่มีมูลค่าการค้ารวมสูงที่สุดของประเทศ แต่พบว่า มีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ พบว่ามี 8 มณฑล/ เมืองที่มีอัตราการขยายตัวติดลบ เช่น เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หดตัวร้อยละ 22.5 มหานครเซี่ยงไฮ้หดตัวร้อยละ 2.8 และ มณฑลจี๋หลินติดลบร้อยละ 9

 

ตะลึง ! การค้าจีน 5 เดือนแรกพุ่ง 85 ล้านล้านบาท ค้ากับไทยโต 86%

 

ปัจจุบันพบว่าการส่งออกถือเป็นปัจจัยสำคัญในอันดับต้น ๆ ที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ที่สถานการณ์ปัจจุบันของ เศรษฐกิจจีนมีความตึงเครียด กลับพบว่ามี 3 มณฑลที่มีมูลค่าการส่งออกสูงกว่าหน่วยล้านล้านหยวน ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่สูงมาก ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง มีมูลค่าการส่งออก 2 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 10.60 ล้านล้านบาท, มณฑลเจ้อเจียงและเจียงซูมีมูลค่ำการส่งออกเท่ากันที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 6.89 ล้านล้านบาท

 

สำหรับอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกพบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มี 18 มณฑล/ เมืองที่มีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสูงกว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกของประเทศที่ ร้อยละ 11.4 โดยอันดับหนึ่ง ได้แก่ เขตปกครองตนเองทิเบต มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 142.8 , มณฑลชิง ไห่ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย และมณฑลไห่หนาน มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 80

 

สำหรับยอดการนำเข้าของจีนในช่วง 5 เดือนแรกนี้ พบว่า กรุงปักกิ่งนำมาเป็นอันดับหนึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1.19 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 6.33 ล้านล้านบาทท ตามด้วยมณฑลกวางตุ้ง 1.18 ล้านล้านหยวน หรือ ประมาณ 6.26 ล้านล้านบาท , มหานครเซี่ยงไฮ้  914,072 ล้านหยวน หรือประมาณ 4.84 ล้านล้านบาท, มณฑล เจียงซู  807,028 ล้านหยวน หรือประมาณ 4.28 ล้านล้านบาท, ชานตง 512,780 ล้านหยวน หรือประมาณ 2.72 ล้านล้านบาท

 

โดยภาพรวมช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้อัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกของจีนสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าทำให้จีนเกินดุลการค้ามูลค่า  1.85 ล้านหยวน หรือประมาณ 9.80 ล้านล้านบาท โดยมี 8 มณฑล/ เมืองที่เกินดุลการค้ากว่า 100,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 530,000 ล้านบาท เช่น มณฑลเจ้อเจียง มณฑลกวำงตุ้ง และมณฑลเจียงซู เป็นต้น

 

ส่วนมณฑล/ เมืองที่ขาดดุลการค้า พบว่ามี 11 มณฑล/ เมือง โดยในที่นี้พบว่าเมืองขนาดใหญ่อย่างกรุงปักกิ่งขาดดุลการค้าสูงสุดถึง 988,369 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 5.24 ล้านล้านบาท เช่น เดียวกับมหานครเซี่ยงไฮ้ที่ขาดดุลถึง 325,033 ล้านหยวน หรือประมาณ 1.72 ล้านล้านบาท

 

สคต. ณ เมืองชิงต่าว ระบุว่า ภาพรวมสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของจีนช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ และเกินดุลการค้า อย่างไรก็ดี พบว่าบางมณฑล / เมืองที่ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมีอัตราการขยายตัวการขยายตัวชะลอตัวลง เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ที่เข้มงวด และนโยบาย Zero COVID ที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ลดลง ส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ

 

ขณะที่เมื่อพิจารณาสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของจีนกับไทยในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ รายงานโดยศุลกากรจีน พบว่า มีการขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 86 แบ่งเป็นการส่งออก ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.15 (YoY) และการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.56 (YoY) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศของจีนกับไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดี 

 

แต่อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์กฎระเบียบทางการค้าต่าง ๆ  และการปรับตัวด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของจีนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนโยบาย Zero COVID ของจีน ที่ถือว่าเป็นปัจจัยและอุปสรรคสำคัญต่อการค้ำระหว่างของไทยกับจีน ใน

 

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยต้องเข้มงวดต่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ในการส่งออกสินค้า เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือต่อสินค้ำไทยให้สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ อย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การรักษาส่วนแบ่งในตลาดจีน และแข่งขันกับคู่แข่งที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน