"ธีระชัย"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

12 ก.ค. 2565 | 01:57 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.ค. 2565 | 09:07 น.

อดีตขุนคลัง "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" มองความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ "ศรีลังกา"แค่หนังตัวอย่าง จับตาแนวโน้มลามหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาชำระหนี้สกุลดอลลาร์ ที่จะปะทุในครึ่งหลังปีนี้

12 ก.ค.65 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  กล่าวถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง“เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” เตือนครั้งที่ 71 ระบุว่า...  

 

ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอยสูงขึ้น จุดอ่อนอยู่ที่หนี้

 

ทำไมศรีลังกา เป็นเพียงหนังตัวอย่าง?

 

การที่เฟด กดดอกเบี้ยสกุลดอลลาร์เอาไว้ต่ำเป็นเวลานาน ล่อใจให้ประเทศกำลังพัฒนา กู้เงินในสกุลดอลลาร์ แทนที่จะกู้ในสกุลท้องถิ่น เพราะสกุลท้องถิ่นดอกเบี้ยสูงกว่า (เหมือนไทยก่อนต้มยำกุ้ง)
แต่บัดนี้ การที่เฟดเริ่มขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าสกุลอื่น ทำให้ดอลลาร์แข็งขึ้น 
 

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลราชปักษา กู้หนี้ต่างประเทศมาทำโครงการท่าเรือล้มเหลว โดยฝันว่าจะมีลูกค้ามาก (เหมือนไทย รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เพิ่งแถลงข่าว จะทุ่มเงินอีก 1.34 ล้านล้านบาท เอาที่ดิน สปก. ไปสร้างเมืองอัจฉริยะ โดยฝันว่าคนไทยร่ำรวยจะย้ายถิ่นฐาน)

 

ผสมโรงกับโควิด ทำให้ท่องเที่ยวศรีลังกาทรุด รัฐบาลราชปักษาจึงหมดแรงที่จะหาดอลลาร์มาใช้คืนหนี้ 

 

ปัญหาทำนองนี้ มีแนวโน้มจะลามไปอีกหลายประเทศ

รูป 1 หนี้ทุกประเภทในโลก สูงขึ้นมาหลายปีต่อเนื่อง โดยในปี 2022 ยอดหนี้ทะลุ 305 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 3.5 เท่า ของมูลค่าสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในโลกต่อปีกลุ่มที่เปราะบางที่สุด คือประเทศกำลังพัฒนา แท่งสีแดง(ไม่รวมจีน) ซึ่งสูงขึ้นมาตลอดสิบปี

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

รูป 2 แสดงข้อมูลว่า ในปี 2022-23 กลุ่มประเทศต่างๆ จะมีความจำเป็นต้องกู้เพิ่มอีกเท่าไหร่ เพียงเพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ กลุ่มที่ต้องกู้เพิ่ม หนักมือที่สุด คือประเทศกำลังพัฒนา นำโดยประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย ตามด้วยนอกเอเซีย(ลาติน ฯลฯ) และประเทศกำลังพัฒนาในยุโรป

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

 

ทั้งสามกลุ่ม จะขาดดุลงบประมาณ ระหว่าง 5-7% ของจีดีพีและเห็นได้ว่า ปริมาณเงินที่ต้องกู้ใหม่ในปี 2022-23 นั้น สูงกว่าที่เคยกู้ ตัวเลขเฉลี่ยปี 2015-19 อย่างมาก เพราะรัฐบาลเหล่านี้ เก็บภาษีได้น้อยลง ในขณะที่ใช้จ่ายมือเติบสูงขึ้น (เหมือนไทย)ยกเว้นกลุ่มตะวันออกกลาง MENA ที่เกินดุลมหาศาล จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น

 

รูป 3 แสดงดอกเบี้ยว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของงบประมาณ 

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

 

สำหรับประเทศกำลังพัฒนา จะเห็นได้ว่า สัดส่วนนี้ สูงขึ้นมากตั้งแต่ปี 2021 และคาดว่าจะสูงขึ้นไปอีกต่อเนื่อง  ด้วยเหตุนี้ ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูง (รวมถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์) เมื่อดอกเบี้ยขยับสูงขึ้น จึงจะมีปัญหาดุลงบประมาณแย่ลงไปเรื่อยๆ

 

รูป 4 นักวิคราะห์จึงคาดว่า จะมีหลายประเทศที่เดินตามศรีลังกา เช่น เอล ซาลวาดอร์ กานา อียิปต์ ตูนิเซีย และปากีสถาน

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

 

รูป 5 ข้อมูลบลูมเบิร์กระบุว่า ขณะนี้ มียอดตราสารหนี้ของประเทศฐานะอ่อน ที่ซื้อขายกันต่ำกว่า par มากถึง 2.37 แสนล้านดอลลาร์ไปแล้ว

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

รูป 6 แสดงว่า ปัญหาชำระหนี้สกุลดอลลาร์ จะปะทุขึ้นใน Q3-4/2022 
เพราะยอดชำระคืน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย มีสูงมาก กว่าจะลดลง ก็เมื่อพ้น Q2/2023 ไปแล้ว

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

น่าสังเกตว่าในจีน เมืองเจ็งโจว มณฑลเหอหนาน ขณะนี้ก็มี 4 ธนาคารที่ประสบปัญหาเงินหมุนเวียน ต้องระงับการถอนเงินฝากแล้ว บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนอาการไม่ดีหนักขึ้น!

 

ไม่ใช่แต่ประเทศกำลังพัฒนา ที่จะประสบปัญหาชำระหนี้ ฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ก็กำลังเผชิญปัญหาด้วยเช่นกัน 

 

ในส่วนแรก นักลงทุนตะวันตก จะขาดทุนจากการลงทุนตราสารหนี้ประเทศกำลังพัฒนา 

 

ในส่วนที่สอง ในรูป 2 จะเห็นประเทศพัฒนาแล้ว ก็จะมีปัญหาจากดอกเบี้ยสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจะกินสัดส่วนงบประมาณหนักขึ้น 

 

รูป 7 แสดงเงินเดือนของประชาชนทั่วไปหลังหักเงินเฟ้อ จะเห็นได้ว่า หลายประเทศในยุโรปติดลบ กรีซ สเปน อิตาลี อังกฤษ เยอรมนี 

 

\"ธีระชัย\"มองความเสี่ยงศก.โลกถดถอย จุดอ่อนอยู่ที่หนี้ จับตาลามหลายประเทศ

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :  เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล