แรงงานขาดหนัก อีอีซีรับ2.7ล.คน จี้ขอนำเข้าเร่งด่วน

15 ก.ค. 2565 | 06:15 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ค. 2565 | 13:15 น.

ภาคธุรกิจครวญขาดแรงงานหนัก หลังเมกะโปรเจ็กต์อีอีซี-ภาคท่องเที่ยวกลับมาเปิดดำเนินการ นำเข้าแรงงานต่างด้าวยังล่าช้า เพิ่งมาได้ 2 หมื่นคน จากที่ต้องการ 2.77 ล้านคน ตั้งเป้านำเข้าตามMOUปีนี้ 1 แสนราย หอฯอีสานขอขยายนำเข้าเร่งด่วนแรงงานเพื่อนบ้าน มาตรา 64 เป็นการชั่วคราว

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ครม. มีมติเปิดให้นำเข้าแรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว มาทำงานในไทยตาม MOU โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน แต่ปริมาณแรงงานที่เข้ามายังน้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน

 

นอกจากนี้ปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนไป ความต้องการแรงงานก็มีมากขึ้น เนื่องจากโครงการก่อสร้างต่างๆ เริ่มเดินหน้า โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ในอีอีซี รวมทั้งการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว โดยหากอีก 2 ปี ไทยมีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาเป็นปีละ 20 ล้านคน คาดว่าภาคธุรกิจจะมีความต้องการแรงงานขึ้นต่ำ 3-4 ล้านคน

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ครม. มีมติเปิดให้นำเข้าแรงงานเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว มาทำงานในไทยตาม MOU โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน แต่ปริมาณแรงงานที่เข้ามายังน้อยเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน

 

นอกจากนี้ปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนไป ความต้องการแรงงานก็มีมากขึ้น เนื่องจากโครงการก่อสร้างต่างๆ เริ่มเดินหน้า โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กต์ในอีอีซี รวมทั้งการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว โดยหากอีก 2 ปี ไทยมีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาเป็นปีละ 20 ล้านคน คาดว่าภาคธุรกิจจะมีความต้องการแรงงานขึ้นต่ำ 3-4 ล้านคน

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัญหาโควิดทำให้การนำเข้าแรงงานล่าช้า แต่หลังจากเปิดการนำเข้าแรงงานสะดวกขึ้น โดยเฉพาะแรงงานเมียนมา คาดว่าจะเข้ามาได้วันละ 2 พันคน จากเดิมวันละ 1 พันคน และสิ้นปีน่าจะเข้ามารวม 1 แสนคน

 

ทั้งนี้ จากตัวเลขล่าสุดที่ผู้ประกอบการยื่นขอในการนำเข้าแรงงานนั้น มีประมาณ 2.77 แสนคน โดยนำเข้าผ่านด่านชายแดน 5 แห่ง ปัจจุบันนำเข้ามาได้เพียง 2 หมื่นคน ยังล่าช้าอยู่ ดังนั้นเชื่อว่าการทำ MOU จะทำให้นำเข้าแรงงานได้เร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าแรงงาน การกักตัว ฉีดวัคซีน ให้แก่ผู้ประกอบการราว 3-4 พันบาทต่อคน
 อย่างไรก็ดีหากเทียบสถานการณ์ปกติ ความต้องการแรงงานในประเทศมีประมาณ 3.8 ล้านคน ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวประมาณ 2.5 ล้านคน และจากความร่วมมือและแก้ไขของภาครัฐตาม MOU คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีแรงงานเข้ามาได้เกือบ 3 ล้านคน

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ด้านนายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และประธานอาวุโสหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ ในพื้นที่ ต่างร้องเรียนว่า มีความต้องการใช้แรงงาน ทั้งมีทักษะและไร้ทักษะ ประเภทลูกจ้างทำความสะอาด และงานหลายประเภทที่คนไทยไม่ทำ

 

แต่เวลานี้ไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวคนลาว กัมพูชา หรือเมียนมา เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ สาเหตุจากการระบาดเชื้อโควิด-19 คนงานต่างด้าวกลับประเทศไปหมด เมื่อจะกลับเข้ามามีขั้นตอนการขออนุญาตนำเข้าแรงงานต่างด้าวหลายขั้นตอน รวมถึงข้อกำหนดการควบคุมดูแลที่ไม่เอื้อแก่นายจ้าง

 

ปลายเดือนที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดอุดรธานี ประชุมร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานระดับพื้นที่ เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคผลิต ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต สถานประกอบธุรกิจเอกชน และการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ประกอบด้วย แรงงานจังหวัดอุดรธานี จัดหางานจังหวัดอุดรธานี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี ประกันสังคมจังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

 

ได้หารือแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น ความเป็นไปได้ในการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาทดแทนในงานบางประเภทที่คนไทยไม่ทำ โดยที่ประชุมนำเสนอและให้ความเห็นชอบ ให้ผลักดันการใช้แรงงานต่างด้าวชั่วคราว ตามมาตรา 64 จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา เพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าว รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทยเป็นแรงงานมีทักษะฝีมือ ให้ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงให้เป็นแรงงานทักษะฝีมือป้อนตลาดแรงงานต่างประเทศ ที่มีความต้องการแรงงานไทยอีกเป็นจำนวนมาก เป็นต้น

 

นายสวาทกล่าวต่อมา จากมติที่ประชุมดังกล่าว จะได้นำเสนอจังหวัดเพื่อแจ้งกระทรวงแรงงานต่อไป โดยในระยะสั้นนี้เห็นว่า สมควรอนุญาตให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ เปิดให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวชั่วคราว ตามมาตรา 64 มาใช้ เพื่อทำข้อตกลงประเทศเพื่อนบ้าน เปิดนำเข้าแรงงานต่างด้าวชั่วคราวระยะสั้น โดยมีข้อปฎิบัติเดียวกับที่เปิดให้ดำเนินการแล้วใน 8 จังหวัด

 

นอกจากนี้ให้หน่วยงานรัฐร่วมกับเอกชน เร่งสำรวจความต้องการแรงงานที่ชัดเจน ทั้งจำนวน ตำแหน่งงาน ประเภทแรงงาน เพื่อประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นายสวาทกล่าว

 

เมื่อ 15 มี.ค.2565 กระทรวงแรงงานเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างด้าว ตามมาตรา 64 ใน 8 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง รวม 8 จังหวัด เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19 แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย

 

หลังจากสำรวจนายจ้างพบว่า มีความต้องการแรงงานต่าวด้าว ในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 32,479 คน จึงเร่งรัดวางแนวทางนำคนงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา-กัมพูชา เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาล ในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง (มาตรา 64) ในแนวทางเดียวกับการนำแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา เข้ามาทำงานตามฤดูกาลภาคเกษตรในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้า

 

หน้า 1 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,801 วันที่ 17-20 กรกฎาคม พ.ศ.2565