เปิดตัว เอกชน 4 ราย ชิงเค้ก “ประมูลสายสีส้ม รอบ 2” ใครจับคู่ใครบ้าง

27 ก.ค. 2565 | 12:31 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ค. 2565 | 19:37 น.

ส่องเอกชนยักษ์ใหญ่ 4 ราย ยื่นข้อเสนอประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2 วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท จับคู่กับใครบ้าง ฟากรฟม.เมินคำพิพากษาศาลเดินหน้าเปิดซองข้อเสนอ 1 ส.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท และได้เปิดขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2565 นั้น โดยวันที่ 27 ก.ค. 2565 เวลา 9.00-15.00 น. ทางรฟม.ได้เปิดโอกาสให้เอกชนที่ซื้อซองประมูลสามารถยื่นข้อเสนอในวันเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจะเปิดซองข้อเสนอในวันที่ 1 ส.ค.2565 คาดว่าจะเสนอผลการคัดเลือกให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2565

สำหรับเอกชน 4 ราย ที่เข้าร่วมการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2 ดังนี้


กลุ่มที่ 1 
-บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
-บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK

 

 

กลุ่มที่ 2 
-บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD 
-บริษัทขนส่งอินช็อน (Incheon Transit Corporation) ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินประเทศเกาหลีใต้

 

 

ขณะที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC  ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กลับยื่นคำขาดไม่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากหลังการศึกษารายละเอียดข้อกำหนดในเอกสารประกวดราคา (RFP) ฉบับใหม่ พบว่ามีเงื่อนไขแตกต่างไปจากเดิม และเป็นเงื่อนไขที่มีข้อกำหนดคุณสมบัติแบบเลือกผู้รับเหมา รวมทั้งเงื่อนไขการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีส้มรอบใหม่นี้ ข้อกำหนดเงื่อนไขในสาระสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอมีเจตนากีดกันบริษัทฯ ไม่ให้มีโอกาสเข้าแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่งอย่างชัดเจนที่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 
 

ที่ผ่านมามีเอกชนที่สนใจติดต่อขอซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบ 2 ทั้งสิ้น 14 ราย ดังนี้
1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)
2. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
4. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ บีทีเอส
5. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 
6. China Harbour Engineering Company Limited
 7. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
8. โตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด
9. Incheon Transit Corporation
10. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน)
11. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 
12. RH International (Singapore) Corporation PTE. LTD.
13. Kumagai Gumi Co., LTd. 
14. บริษัท ซีเมนต์ โมบิลิตี้ จำกัด