วันที่ 3 ส.ค. 2565 “ฐานเศรษฐกิจ" จัดเสวนา “ BIG ISSUE : The Opportunities ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ไทย-ซาอุฯ เราจะเดินไปด้วยกัน " โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ซาอุฯ ขุมทองใหม่ตลาดแรงงานไทย ”
นายสุชาติ กล่าวว่า เนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้บินไปประเทศซาอุฯซึ่งตนได้ร่วมคณะไปด้วย เพื่อฟื้นความสัมพันธุ์ การส่งออก การค้าในรอบ30 กว่าปี ส่งผลให้คนไทยที่ได้มีโอกาสกลับไปทำงานซาอุฯได้อีก
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าตลาดจ้างงานในซาอุฯ เป็นตลาดแรงงานขนาดใหญ่ แต่ช่วงปิดประเทศ มีการปิดเรื่องความสัมพันธ์ไปด้วย ทำให้ประชาชนคนไทยต้องไปทำงานประเทศอื่น จึงเป็นทางเลือกที่รัฐบาลไปฟื้นความสัมพันธ์ ซึ่งไม่เฉพาะแรงงาน เป็นเรื่องส่งออกด้วย
นายสุชาติ กล่าวว่า ครั้งนี้เราเปลี่ยนลุคใหม่ ไม่เหมือนหลายปีก่อน ในอดีตสมัยที่คุณพ่อตนไปทำงานที่ซาอุฯ เพราะเรียนจบแค่ป.4 ต้อวทำงานเป็นกรรมกร แต่วันนี้ที่จะส่งคนไทยทำงาน เป็นตลาดมีฝีมือ หรือกึ่งมีฝีมือ
ส่วนมากเป็นบุคลากรด้านการแพทย์ พยาบาล เชฟ เพราะซาอุฯเปิดการท่องเที่ยวด้วย หลักๆซาอุ จะทำเกี่ยวกับน้ำมัน เขาต้องการช่างเชื่อม และช่างขุดเจาะ ไม่ได้เป็นกรรมการก่อสร้างเหมือนสมัยก่อน ส่วนของค่าแรงที่สตาร์ทที่สามหมื่นกว่าถึงหลักแสนบาท ไม่ใช่หมื่นกว่าบาทเหมือนสมัยก่อน
นายสุชาติ กล่าวว่าตอนที่ไปเชื่อมสัมพันธ์ สิ่งจำเป็นอันดับแรกคือ เรื่องวีซ่า แต่ก่อนจะไปเรื่องศาสนา เรื่องไก่ พอนายกฯกลับมาก็มีการส่งออกสินค้าประเภทไก่ สิ่งที่ไทยได้ประโยชน์คือ ทางซาอุฯมาเที่ยวประเทศไทย เขาชอบประเทศไทย ซึ่งมีประชาชนหรือนักวิชาการบางคนไม่เข้าใจ คิดว่าตนจะส่งแรงงานไปแบบไม่มีสกิล ไร้ทักษะฝีมือ
เราต้องยอมรับว่าเรามีลูกหลานที่เราให้ลูกหลานเรียนด้านอาชีวะ หรือเรียนช่าง หรือเรียนสูงขึ้นเมื่อลูกหลานมีทักษะ มีสกิลมากขึ้น การไปทำงานต่างประเทศ คือช่องทางหนึ่งที่ทให้เขาได้ประสบการณ์ชีวิต ได้องค์ความรู้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ในอนาคต โทคโนโลยีต่างๆเป็นส่วนของอากาสของน้องๆจบใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตให้มีประสบการในต่างประเทศ
นายสุชาติ กล่าวอีกว่า ในยุทธศาสตร์ใหญ่เราต้องแยกในส่วนการท่องเที่ยว การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ หรือด้านสุขภาพ เฮลท์แคร์ เรื่องเชฟ เรามีทูตแรงงานที่ซาอุฯ ที่ประสานกับหอการค้าซาอุฯแล้วว่าทางบริษัทต่างๆต้องการแรงงานประเภทไหน แรงงานค่าจ้างแบบไหน เรามีข้อมูล เราก็จะนำส่งกระทรวงแรงงาน โดยจีทูจี เพื่อควบคุมค่าหัวคิวแรงงาน
ในอดีตการไปซาอุฯเอกชนทำ จะลำบาก เพราะการเรียกเก็บไม่เท่ากัน แต่เมื่อเป็นแบบรัฐต่อรัฐ นายกฯ ให้ความห่วงใยเรื่องนี้ ถ้าจะเปิดประเทศแล้ว คนไทยไปทำงานมีค่าใช้จ่ายที่สูงก็จะท้อถอย ไม่มีเงินเก็บ เราต้องตัดตอนตรงนี้
รมว.แรงงาน กล่าวว่า ช่วงที่ตนไปซาอุ ได้ไปดูเมืองหนึ่งใช้มูลค่าสร้างหลายล้านๆบาท เขาสร้างเป็นเมืองเกี่ยวกับไอที เป็นเมืองด้านการเงินทั้งหมด เชื่อว่าที่เขาทำครั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการเงินของตะวันออกกลาง ซึ่งอนาคตประเทศแถบตะวันออกกลางทั้งหมด จะใช้ซาอุเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขาย เหมือนสิงคโปร์
“ผมนั่งฟังนายกฯคุยกับมกุฎราชกุมาร วิชั่นของซาอุฯมีความคิดว่า จะทำให้ซาอุฯ เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงรู้สึกว่าเขาจะไม่พึ่งพาเฉพาะน้ำมัน เขาเปลี่ยนและพัฒนาตัวเขาเองเป็นธุรกิจอีกขาหนึ่ง และเขาก็มีพวกระบบไอทีที่ทันสมัยมาก เขาเป็นประเทศที่เราควรรีบเข้าไปค้าขาย เชื่อว่าประเทศเขาในอนาคตจะเปินศูนย์กลางทางการเงินของตะวันออกกลาง “
นายสุชาติ กล่าวอีกว่า ถ้าซาอุฯเป็นศูนย์กลางการเงินสมบุรณ์แบบ จะใช้พนักงานจำนวนมหาศาล ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ ไอที ระบบออฟฟิศใหญ่ๆ จะเป็นตลาดจ้างงานหลายล้านคน เรามีพี่น้องคนไทยที่พูดภาษาเขาได้โดยเฉพาะพี่น้องภาคใต้พูดภาษาเดียวกัน กับซาอุ ไปแล้วได้เปรียบ เพราะมีวัฒนธรรมการเป็นอยู่ที่คล้ายกัน ส่วนใครที่ไม่ใช่ศาสนาอิสลามหรือมุสลิม ก็สามารถอยู่ได้เพราะมีร้านอาหารไทย
“นายกฯฯเร่งเรื่องเอ็มโอยูกับซาอุฯ ภายในสามดือน หรือ 90 วัน ผมทำเสร็จทัน ส่วนเรื่องการจัดอัตราการไปทำงาน เราจะไม่เอาเรื่องไม่มีสกิลเราไม่เอา จะเอาเฉพาะคนที่มีทักษะ ฝีมือ เอาเฉพาะแรงงานไทยที่ไปแล้วสามารถมีรายได้ 4 หมื่น-แสนบาท
แต่ถ้าไประดับไม่มีสกิลใม่จำเป็นต้องไป เราเลือกที่จะส่ง ไม่เอาจำนวน เอาคุณภาพ ไปแล้วให้เขามองว่าคนไทยมีความสามารถ”นายสุชาติ ย้ำในตอนท้าย