กรมการขนส่งทางบก เปิดให้บริการต่อใบอนุญาตขับรถนอกเวลาราชการให้บริการนอกเวลาทุกวันเสาร์ ตลอดเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ณ สำนักงานขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว จองคิวเพื่อต่ออายุใบอนุญาตขับรถนอกเวลาราชการ ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบกได้ขยายระยะเวลาการให้บริการต่ออายุใบอนุญาตขับรถในวันธรรมดา (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) นอกเวลาราชการ ซึ่งจะให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 - 18.00 น. เพื่อรองรับการให้บริการการต่อใบอนุญาตขับรถ
โดยมีผู้จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue และมีผู้มาใช้บริการต่อใบขับขี่นอกเวลาราชการ ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5,068 ราย สำนักงานขนส่งจังหวัดและสาขา ในจังหวัดปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว จำนวน 14,375 ราย รวมทั้งสิ้น 19,443 ราย
อีกทั้งตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565-กันยายน 2565 ได้เปิดให้บริการต่อใบอนุญาตขับรถนอกเวลาเพิ่มเติมในวันเสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น
โดยการให้บริการต่ออายุใบอนุญาตขับรถนอกเวลาราชการในวันเสาร์ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.
โดยจะให้บริการเฉพาะ
ผู้สนใจสามารถจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue และสำหรับผู้ที่จองคิวล่วงหน้าผ่าน แอปพลิเคชันไว้แล้ว หากต้องการเปลี่ยนวันและเวลาให้การดำเนินการให้เร็วขึ้น สามารถดำเนินการจองคิวใหม่ได้ โดยคิวที่จองไว้เดิมจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยจองคิวมาก่อนแต่ต้องการดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตขับรถนอกเวลาราชการ ในช่วงเย็นของวันทำการ หรือในวันเสาร์ สามารถจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ได้เช่นเดียวกัน
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศยังคงดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
ตั้งแต่การคัดกรองก่อนเข้าอาคาร เว้นระยะห่างตามมาตรการ Social Distancing โดยให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาให้บริการ
ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนที่ติดต่อราชการ สวมหน้ากากอนามัยในการติดต่อราชการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อแพร่กระจายของโรค