กมธ.บริหารงบประมาณ แนะรัฐใช้หม้อแปลง Low Carbon นำสายไฟลงดิน ปรับลุค กทม.

18 ส.ค. 2565 | 05:28 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ส.ค. 2565 | 12:41 น.

ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรนำทีมเยี่ยมชมหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon จี้รัฐบาลเร่งนำสายไฟฟ้าใน กทม.ลงดิน ปรับทัศนียภาพเมืองให้สวยงาม สร้างความมั่นคง ปลอดภัยให้ประชาชน ประหยัดพลังงาน

 

นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ทางกรรมาธิกาฯ ได้รับคำร้องเรียนโครงการสายใต้ดินจากประชาชน เกี่ยวกับหม้อแปลงที่ยังได้รับการติดตั้งบนเสาอยู่ ฉะนั้นภาครัฐควรสนับสนุนส่งเสริมสินค้านวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer  Low Carbon ที่ตอบโจทย์และจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการนำสายไฟฟ้าลงดิน

 

กมธ.บริหารงบประมาณ แนะรัฐใช้หม้อแปลง Low Carbon นำสายไฟลงดิน ปรับลุค กทม.

 

เนื่องด้วยเวลานี้ กรุงเทพมหานคร และเมืองต่าง ๆ มีปัญหาสายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้นำลงใต้ดิน ทำให้สายไฟบนเสาไฟฟ้าบดบังหน้าร้าน บดบังที่ดินของชาวบ้าน อีกทั้งยังทำให้เกิดเพลิงไหม้ เกิดความเสียหายต่อประชาชนเป็นจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยนำหม้อแปลงไฟฟ้าและสายไฟฟ้าลงใต้ดิน เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลให้เป็นเมืองทันสมัยไร้สาย ด้วยการนำสายไฟฟ้าและหม้อแปลงลงดินทั้งระบบ เพื่อความปลอดภัยให้กับประชาชนทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เข้ามาท่องเที่ยว พร้อมทั้งยกระดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกได้

 

กมธ.บริหารงบประมาณ แนะรัฐใช้หม้อแปลง Low Carbon นำสายไฟลงดิน ปรับลุค กทม.

 

“หม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon นอกจากจะสร้างมั่นคงและความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว ยังช่วยแก้ไขทัศนียภาพของเมืองให้สวยงาม ทั้งยังช่วยลดพลังงานค่าไฟ / ลดคาร์บอนได้ 5-20% ดูแลบำรุงรักษาง่าย มีความเหมาะสมกับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่จำกัด ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ เพราะหม้อแปลงชนิดนี้ทำการติดตั้งใต้ดิน คุ้มทุนตั้งแต่ตัดสินใจเปลี่ยนใช้หม้อแปลงนวัตกรรมไทยแล้ว”

 

ด้าน นายชัยยันต์ ผลสุวรรณ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการปรับโครงสร้างราคาไฟฟ้า กล่าวว่า หม้อแปลงไฟฟ้า  Submersible Transformer Low Carbon เป็นนวัตกรรมไทย ที่คณะอนุกรรมาธิการฯ พร้อมให้การสนับสนุน โดยหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้มีความเหมาะสมกับเมืองใหญ่ ๆ อย่างกรุงเทพฯ ที่ต้องการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ เป็นทางเลือกในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในเขตเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ช่วยแก้ปัญหาหม้อแปลงกีดขวางทางเท้า และแก้ปัญหาไฟไหม้ที่เกิดจากหม้อแปลงหรือสายไฟที่เดินลอยบนอากาศ และสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้แก่เมือง

 

ชัยยันต์  ผลสุวรรณ์

 

โดยหม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าช่วยลดพลังงาน   ค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอน เหมาะแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่เป็นภาระหลักการดำเนินธุรกิจขณะนี้ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ ทั้งยังสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปลอดภัย และประหยัดพลังงานอีกด้วย