นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ฐานะโจทย์ยื่นฟ้องในคดีสายสีส้ม (บางขุนนนท์- มีนบุรี ) กรณีล้มประมูลสายสีส้ม และ กรณีแก้เกณฑ์ทีโออาร์ใน รอบแรก เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 บริษัทได้ทำหนังสือถึง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โดยอ้างอิงการประมูล สายสีส้มรอบที่ 2
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD หนึ่งใน นิติบุคคล ที่ร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและอยู่ระหว่างพิจารณาคุณสมบัติ อาจจะไม่มีสิทธิ์ เข้าร่วมประมูล เนื่องจากพบว่า ITD หรือนิติบุคคลดังกล่าวมีกรรมการ เคยต้องโทษจำคุก ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติ เอกชนร่วมลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเรื่องลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน หรือPPPประกาศณ วันที่ 6กันยายน2562
โดยขอให้ รฟม.และ คณะกรรมการตามมาตรา 36ฯ มีมติ สั่งระงับการ เข้าร่วมประมูล โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ เพราะอาจเกิดความไม่เป็นธรรมและสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับการประมูลโครงการรัฐ
“ตามประกาศ คณะกรรมการPPPระบุชัดเจนว่า ห้ามนิติบุคคลที่มีกรรมการ ต้องโทษ และกลุ่มนิติบุคคลที่ที่อยู่ในข่ายกรรมการบริษัทเคยต้องโทษจำคุก ตามประกาศของรฟม. “
ทั้งนี้ อ้างถึงสาระสำคัญหนังสือ ลงวันที่ วันที่ 6 กันยายน 2565 ที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ส่งถึงคณะกรรมการตามมาตร 36 ระบุว่าขอให้พิจารณาและมีมติให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ITD และกลุ่มนิติบุคคลที่บริษัทดังกล่าวเป็นพันธมิตร เป็นผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
เนื่องจากมีลักษณะเป็นเอกชนที่ไม่สมควรให้เข้าร่วมลงทุนตามกฎหมายคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ดังนี้
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นซอบและอนุมัติโครงการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 25622
2.คดีศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 2280/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 192/2565 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
3. คดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง หมายเลขดำที่ อท.30/2564 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์กับนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ที่ 1 กับพวกรวม 7 คน
4. คดีศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 580/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 1455/2565 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
5. คดีศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ 1646/2565 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดีกับคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
โดยได้ส่งข้อมูลต่าง ๆ มาด้วย ดังนี้
ทั้งนี้ระบุว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์ ) ตามที่อ้างถึง ต่อมา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พรบ.ร่วมลงทุนฯ) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เพื่อดำเนินการคัดเลือกเอกชนตาม พรบ.ร่วมลงทุนฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม. ได้ดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี และไม่ได้เป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติในหลายครั้ง ทำให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มได้โต้แย้งและคัดค้านมาโดยตลอด รวมถึงได้มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ดังมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ครั้งที่ 1 คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.ได้เปลี่ยนแปลงและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินตามเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ได้มีหนังสือขอให้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพียงประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น ทั้ง ๆที่ รฟม. ได้ศึกษาโครงการมาเกือบ 2 ปี จนผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว จนบริษัทฯ ต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ตามที่อ้างถึง และศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับไม่ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการชั่วคราว
ต่อมาได้มีคำพิพากษายืนยันว่า หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินเดิมตามเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 นั้น ชอบด้วยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีแล้ว เพราะรัฐได้ผลประโยชน์สูงสุดจากการแข่งขันครั้งนี้ และ การแก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประมูลในครั้งก่อนดังกล่าวเป็นต้น