นายโสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) หรือ FPIT กล่าวในงาน สัมมนา EEC New Chapter Ne Economy ที่จัดขึ้นโดยเครือเนชั่น ในหัวข้อ อีอีซีเดินหน้า...สร้างบทบาทใหม่เศรษฐกิจไทย ว่า แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในไทยและ EEC มีโอกาสมาก เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนอั้นมาก
เมื่อทุกอย่างเริ่มเดินหน้า เขาพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 เฟส คือ เฟสแรก การกลับเข้ามาในช่วงระยะสั้น จากการย้านฐานการผลิต (Relocation) เนื่องจากผลกระทบของ Tech และ Tech War
ปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ที่กระทบกับเรื่องของซัพพลายเชน รวมไปถึง China Plus One หรือการที่บริษัทญี่ปุ่นที่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจกับจีนพยายามลดสัดส่วนการพึ่งพาจีนลงเนื่องจากความไม่มั่นใจในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งสอง
ปัจจัยเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการย้ายฐานผลิต หาที่ประกอบการใหม่ ซึ่งเน้นความรวดเร็ว (On Demand Solution) เพื่อย่นระยะเวลาการเข้าสู่ตลาด (Time to Market) และต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถขยายหรือลดได้ในอนาคต (Flexible Space/Resilience) ซึ่งนักลงทุนจะมองหาพื้นที่ในแถบเอเชียแปซิฟิก และไทยก็คือหนึ่งในนั้น
เฟสที่ 2 คือ การขยายฐานการผลิต ซึ่งเป็นการลงทุนในระยะกลางและยาว เป็นการลงทุนเพืื่อการขยายธุรกิจสู่ New Economy หรือ New Product ที่ต้องอาศัยซัพพลายเชนเน็ตเวิร์คและเทคโนโลยี และต้องการพื้นที่ที่้องปรับทั้งเรื่อง Physical, Social และ regulatory Infrstructure
กลยุทธ์ที่สำคัญที่จะดึงให้นักลงทุนไหลเข้ามาในพื้นที่ EEC คือ
นายโสภณ กล่าวว่า ส่วนของ FPIT มีการลงทุนใน EEC ทั้งอาคารคลังสินค้า และ อาคารโรงงานมาตรฐานสำเร็จรูป มี Logistics Park และ มีระบบการก่อสร้างโรงงานแบบ Built-to-Suit โดยปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 1.5-1.6 ล้านตารางเมตร
ทั้งโรงงานสำเร็จรูป และแวร์เฮ้าส์ และมีพื้นที่เหลืออีก 1500 ไร่ สำหรับพัฒนาเพิ่มเติม โดยใน EEC มีอัตราการเช่าอาคารโรงงาน 85%จากกว่า 200 กว่าอาคาร และอาคารคลังสินค้าอัตราการเช่า 75% จากกว่า 300 ดังนั้น จึงมีความสามารถเพียงพอต่อการรองรับตลาด
สำหรับการแข่งขันและโอกาสของไทยในพื้นที่อีอีซี สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือการสร้างความเชื่อมั่น และเสถียรภาพ ให้กับนักลงทุน เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนที่จะเลือกย้ายและเข้ามาใช้พื้นที่อีอีซีเป็นฐานการผลิตต่อไป