ค่าไฟขึ้น เริ่มรอบบิล ก.ย.-ธ.ค. รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือประชาชนอย่างไร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
วันนี้ (22 ส.ค.) จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบจากค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นอีก 68.66 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย ซึ่งเบื้องต้นมาตรการช่วยเหลือคาดว่าใช้งบกลาง 7,000-8,000 ล้านบาท โดย กบง. จะพิจารณาแนวทางสุดท้าย ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 ส.ค.
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม กบง. นายสุพัฒนพงษ์ ได้นัดให้ผู้บริหารกระทรวงพลังงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ,นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ,นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ,น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
,นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน ,นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และนายวิศักดิ์ วัฒนทรัพย์ ผอ.สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ร่วมชี้แจงสถานการณ์ราคาพลังงานของประเทศต่อสื่อมวลชน รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือราคาพลังงาน ที่จะเข้า ครม. ในวันที่ 23 ส.ค.นี้
สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้จัดทำและส่งให้กระทรวงพลังงานนำเข้า กบง. นั้นได้วางกรอบช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 1-500 หน่วย รายละเอียดการช่วยเหลือนั้น วางแนวทางแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ประกอบด้วย
1.การช่วยเหลือเท่ากับงวดปัจจุบัน คือ หากบ้านใดใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ค่าเอฟทีจะไม่ปรับขึ้นหรือขึ้นเล็กน้อย เพื่อจูงใจประชาชนลดใช้ไฟฟ้าให้อยู่ระดับที่รัฐบาลช่วยเหลือ
โดยจะเสนอมาตรการช่วยเหลือ 2 แนวทางให้ กบง. ตัดสินใจ