ส่องไฮไลท์ "Defense & Security 2022" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

30 ส.ค. 2565 | 10:05 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ส.ค. 2565 | 23:15 น.

ส่องไฮไลท์งาน Defense & Security 2022 นิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ "อุตสาหกรรม 1 ใน S-curve" ดันเศรษฐกิจไทยในพื้นที่ EEC

Defense & Security 2022 หรือ นิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ ระดับเอเชีย ที่ปักหมุดจัดที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 29 ส.ค. - 1 ก.ย.65

 

นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 10 โดยมี กระทรวงกลาโหมของไทย เป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน และได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการด้านยุทโธปกรณ์ชั้นนำจากหลายประเทศทั่วโลกได้นำยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาร่วมแสดง

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “พลังแห่งความร่วมมือ (Power of Partnership)” อันจะทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความร่วมมือ การสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคลที่ยั่งยืน 

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

 

 “ฐานเศรษฐกิจ” มีโอกาสเยี่ยมชมงาน Defense & Security 2022 โดยมี “บิ๊กปั้น-พลเอก ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร” เป็นไกด์ผู้นำเยี่ยมชมงาน

 

พบว่า ในงานนอกจากจะมีการออกบูธโชว์อาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆแล้ว ยังมีการสัมมนาและการพบปะจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ผลิตทั้งรายเล็กและรายใหญ่กับผู้ที่สนใจ

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

พลเอกไพบูลย์ เล่าถึงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคต ที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยว่า นี่คือหนึ่งอุตสาหกรรมที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ที่รัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กำหนดให้ลดการนำเข้าพึ่งพาจากต่างประเทศ จึงถูกกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมนี้เป็น 1 ใน 12 S-curve สำคัญภายใต้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่มีต่างชาติหลายประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุน แต่ยังไม่ขอบอกว่ามีประเทศใดบ้าง 

พลเอก ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (คนกลาง)
 

“การจัดงาน Defense & Securityนี้ มุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในกลไกของการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ผลิตได้พบผู้ใช้โดยตรง รวมถึงผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสได้ติดตามการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต”

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

พลเอกไพบูลย์ บอกอีกว่า บทบาทของกระทรวงกลาโหมในการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหมมีบทบาท หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งตามกฎหมายคือการศึกษา วิจัย พัฒนาและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จึงต้องมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างความเข้มแข็งร่วมกันให้สามารถพึ่งพาตนเองและแข่งขันในเชิงพาณิชย์ได้

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

การจัดงาน Defense & Security เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความร่วมมือ การสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ส่วนผลงานที่สำคัญของหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมที่มาแสดงในงานนี้ เป็นการนำเสนอผลงานและความก้าวหน้าในการวิจัยพัฒนา รวมถึงขีดความสามารถ ในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม อาทิ 

  • ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ซึ่งผ่านการทดสอบจากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมแล้ว
  • ปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตรและเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตร ที่นำมาติดตั้งบนรถเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่และเข้าที่ตั้งยิงได้รวดเร็ว ซึ่งมีผลการใช้งานเป็นที่พึงพอใจของหน่วยใช้
  • จรวดหลายลำกล้องแบบ DTI – 2 ที่ได้รับการถ่ายทอดจากมิตรประเทศแล้วนำมาพัฒนาต่อยอดโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 

 

บิ๊กปั้น บอกอีกว่า สำหรับในส่วนของเหล่าทัพมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มาจัดแสดง เช่น การผลิตกระสุนปืนเล็กของ สพ.ทบ., อากาศยานไร้นักบิน แบบนารายณ์ ของ สวพ.ทร. และ จรวดอากาศ ขนาด 2.57 นิ้ว ของ สพ.ทอ. 

 

และหนึ่งคำถามที่ พลเอกไพบูลย์ อธิบายในสิ่งที่สังคมภายนอกมองว่า “กองทัพได้อะไรจากงานนี้?” ว่า การจัดงาน Defense & Security มีการจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ครอบคลุมทั้ง 3 เหล่าทัพ โดยในการมาเยี่ยมชมงานจากผู้แทนจากหน่วยต่างๆของ กห.และเหล่าทัพถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้รับรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำมาดัดแปลง พัฒนาต่อยอดหรือก่อให้เกิดแนวความคิดในการสร้างนวัตกรรม

 

และยังจะเกิดความร่วมมือกันของหน่วยงานของกองทัพกับเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

 

จากนั้น พลเอกไพบูลย์พาชม 1 ในไฮไลท์ของบูธกระทรวงกลาโหม คือ  “ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ขนาด 155 มม. แบบอัตตาจรล้อยาง เอ็ม 758 (Autonomous Truck Mounted Gun (ATMG)) ซึ่งประกอบในประเทศไทย 100%

ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ ขนาด 155 มม. แบบอัตตาจรล้อยาง เอ็ม 758 (Autonomous Truck Mounted Gun (ATMG))

ผลงานชิ้นโบว์แดงโครงการร่วมมือระหว่าง ศูนย์อํานวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กับบริษัท เอลบิท ซิสเต็มส์ แลนด์ จํากัด (รัฐอิสราเอล) ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การติดตั้งและประกอบรวม ระบบปืนใหญ่ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง พร้อมระบบเบ้าที่ตั้งยิ่งและตั้งปืนตรงทิศและระบบควบคุมและอํานวยการยิงอัตโนมัติประจําหมู่ปืน โดยได้ผ่านการรับรอง มาตรฐานจากคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบกเรียบร้อยแล้ว

 

สมรรถนะของ เอ็ม 758 คือ มีปืนใหญ่หนาด 155 มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง มีลํากล้อง ขนาด 52 คาลิเบอร์ ระยะยิงไกลสุด 40 กิโลเมตร  เวลาพร้อมยิง 2 นาที อัตราการยิง 2 นัด/นาที  บรรจุกระสุนพร้อมยิง 18 นัด ระบบบรรจุกระสุนแบบกึ่งอัตโนมัติ ช่วยบรรจุกระสุนเข้าไปในรังเพลิงของลํากล้องด้วยระบบไฮดรอลิก 

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC

ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก TATRA 6x6 ขนาด 10 ตัน  เครื่องยนต์ระบบหัวฉีด 8 สูบ ขนาด 400 แรงม้า ความจุถังน้ำมัน 220 ลิตร ระยะปฏิบัติการ 400 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุดบนถนน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุดในภูมิประเทศ 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยยางแบบ Run-Flats และทีเด็ดของเขาคือสามารถวิ่งต่อได้เมื่อยางแตก

 

ห้องโดยสารพลประจําปีนสามาบรรจุพลประจําปีน จ้านวน6 นาย โครงสร้างแห่งแรงป้องกันแรงอัดอากาศของการยิงปืนใหญ่ และป้องกันการยิงด้วยกระสนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ในระยะ  25 ขึ้นไป มีชุดป้องกันผลกระทบที่เกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ ชีวะ และเคมี ติดตั้งระบบควบคุมและอ่านวยการยิงอัตโนมัติ ประจําหมู่บินและระดับกองร้อย

 

นี่คือ 1 ในน้ำจิ้มที่นำมาเสนอ แต่ภายในงานยังมี อาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศอีกจำนวนมาก ใครมีเวลาก็แวะเวียนไปกันได้

ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC ส่องไฮไลท์ \"Defense & Security 2022\" 1 ใน S-curve พื้นที่ EEC