thansettakij
สหภาพกทพ. บุกคมนาคม ค้าน "ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9"

สหภาพกทพ. บุกคมนาคม ค้าน "ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9"

27 มี.ค. 2568 | 12:20 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มี.ค. 2568 | 06:09 น.

สหภาพกทพ.ร้องคมนาคม ค้านสร้าง "ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9 หลังกทพ.ขยายสัมปทาน BEM เชื่อประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แนะสร้างทางด่วนขั้น 3 แก้รถติด

แหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.) เปิดเผยว่า สหภาพฯได้ยื่นหนังสือต่อนายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการคัดค้านการดําเนินโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน - พระราม 9)

ทั้งนี้กทพ.ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน พ.ศ.2562 ได้เสนอให้แก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ระหว่าง กทพ. กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) (BEM) โดยให้ BEM ดําเนินโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 2 (Double Deck)

ขณะเดียวกันได้ขยายระยะเวลาสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) ออกไปสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2601

สหภาพกทพ. บุกคมนาคม ค้าน \"ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9\"

สร.กทพ. เห็นว่าไม่ได้ดําเนินการภายใต้ขอบเขตการใช้อํานาจเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และไม่เป็นไปตาม พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 มาตรา 28

นอกจากนี้การดําเนินโครงการดังกล่าวยังทําให้ ประเทศชาติ ประชาชน องค์กร และพนักงาน ได้รับความเสียหาย และอาจทําให้ กทพ. ต้องขยายระยะเวลาสัญญา ออกไปด้วยเหตุที่ กทพ. มอบพื้นที่ก่อสร้างไม่ทันตามกําหนดระยะเวลาในสัญญา

แหล่งข่าวจากสหภาพกทพ.กล่าวต่อว่า ขอให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาทบทวนการดําเนินโครงการทางพิเศษ ยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน - พระราม 9) เนื่องจากกรณีเกิดอุบัติเหตุคานคอนกรีตถล่มลงมาในระหว่างการก่อสร้าง ของโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ด้านตะวันตก ทําให้โครงสร้างทางพิเศษเฉลิมมหานครพังลงมาเป็นผลทําให้มีผู้เสียชีวิต จํานวน 5 ราย และ มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 20 ราย

สหภาพกทพ. บุกคมนาคม ค้าน \"ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9\"

อย่างไรก็ดีโครงสร้างทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2(งามวงศ์วาน - พระราม 9) เป็นโครงการทางพิเศษยกระดับ ซ้อนอยู่บนทางพิเศษศรีรัช มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน สิ้นสุดโครงการที่บริเวณ โรงพยาบาลพระรามเก้า รวมระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร

ทั้งนี้จึงทําให้ สร.กทพ. มีความกังวลในการก่อสร้าง ทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านความเชื่อมั่นของผู้ใช้ทางการเกิดอุบัติเหตุที่ก่ออันตรายต่อชีวิต ความปลอดภัย ของประชาชนอย่างร้ายแรงดังเช่นกรณีคานคอนกรีตถล่มเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568

หากกระทรวงคมนาคมมีความต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรให้กับประชาชน อย่างแท้จริง สร.กทพ. เห็นควรเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรผ่านการก่อสร้างโครงการทางพิเศษ ขั้นที่ 3 เพื่อให้ครอบคลุมโครงข่ายทั้งในเมืองและนอกเมือง แทนการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2(งามวงศ์วาน - พระราม 9)

สหภาพกทพ. บุกคมนาคม ค้าน \"ทางด่วนชั้นที่ 2 งามวงศ์วาน-พระราม 9\"

นอกจากนี้ในปี2567รายได้ที่ กทพ. แบ่งให้ BEM เป็นเงิน 7,539.50 ล้านบาท หากไม่ต่อสัมปทาน สามารถนําเงินที่ต้องแบ่งให้ BEM มาสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ได้