“เยียวยาปลาหมอคางดำ” เช็กชัดๆ พื้นที่ไหนเข้าข่ายประกาศภัยพิบัติ

03 เม.ย. 2568 | 09:59 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2568 | 10:26 น.

สรุป เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบปลาหมอคางดำ 2568 เช็กชัดๆ พื้นที่ไหน จัดเข้าข่ายประกาศภัยพิบัติ ช่วยเหลือกำจัดเร่งด่วน ใช้งบกว่า 98 ล้าน อัปเดตล่าสุด

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ครั้งที่ 2/2568 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งได้พิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทาง การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ คือ

“เยียวยาปลาหมอคางดำ” เช็กชัดๆ พื้นที่ไหนเข้าข่ายประกาศภัยพิบัติ

1.ต้องเป็นพื้นที่ที่กรมประมงได้ประกาศเป็นพื้นที่การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ

2.ระดับการรุกรานของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่นำมาใช้ในการประกาศภัยพิบัติ ต้องอยู่ในระดับรุนแรงหรือระดับปานกลาง โดยมีเกณฑ์การพิจารณาระดับความชุกชุม เพื่อจัดระดับการรุกราน ดังนี้

  • ระดับรุนแรง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำมากกว่า 100 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.
  • - ระดับปานกลาง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำมากกว่า 10 ตัว แต่ไม่เกิน 100 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.
  • - ระดับไม่รุนแรง มีความชุกชมของปลาหมอคางดำไม่เกิน 10 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม.

3.กรณีประเมินความชุกชุมของการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่เกิน 10 ตัว/พื้นที่ 100 ตร.ม. (ระดับไม่รุนแรง) สามารถประกาศยุติการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำได้

 

ทั้งนี้ กรมประมงจะดำเนินการเสนอกรมบัญชีกลางพิจารณาให้ความเห็นชอบ และแจ้งต่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและผู้ว่าราชการจังหวัดใช้เป็นหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ปราบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำต่อไป