thansettakij
ตรวจสอบสิทธิ "โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

ตรวจสอบสิทธิ "โควตานมโรงเรียน” ปี 2568 สหกรณ์-เอกชน เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

05 เม.ย. 2568 | 06:20 น.
อัปเดตล่าสุด :05 เม.ย. 2568 | 06:31 น.

ใกล้วัน! จัดสรรสิทธิโควตานมโรงเรียน ปีการศึกษา 2568 ตรวจสอบสิทธิ-รายชื่อ “สหกรณ์-เอกชน” อยู่พื้นที่ไหน เช็กที่นี่ ที่เดียวจบ

พลิกแฟ้มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2568  เรื่อง ทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน รวมทั้งการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการนมโรงเรียน 4 ข้อ คือ 1. เพื่อให้นักเรียนทั้งประเทศได้ดื่มนมที่มีคุณภาพ 2.เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสามารถผลิตขายน้ำนมโคที่มีคุณภาพได้ 3.สร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์โคนม รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ในการดำเนินกิจการผลิตนม 4. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมได้รับการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

 

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

รวมทั้งทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26  มีนาคม 2562 ในประเด็นโครงสร้างระบบบริหารโครงการนมโรงเรียนฯ จากเดิมที่แบ่งกลุ่มพื้นที่ 5 เขตพื้นที่ เป็น 7 เขตพื้นที่ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งนมโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ ซึ่งเมื่อมีการแบ่งเขตใหม่จะสามารถช่วยลดระยะทางในการขนส่งนมโรงเรียนได้จากเดิมที่ต้องขนส่งระยะทางไกลที่สุด 1,191 กิโลเมตร เหลือเพียงแค่ 505 กิโลเมตร  อย่างไรก็ตาม การแบ่งเขตกลุ่มพื้นที่ใหม่นี้อาจจะไม่ช่วยทำให้จำนวนนักเรียนและจำนวนศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบมีการกระจายตัวอย่างสมดุลในแต่ละกลุ่มพื้นที่มากนัก ซึ่งกระทรวงเกษตร สามารถทดแทนได้จากการรับนมของพื้นที่นอกเขต โดยปัจจุบันในแต่ละกลุ่มพื้นที่มีปริมาณนมยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนฯ ต่อวันเพียงพอต่อความต้องการในกลุ่มพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว

 

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

ล่าสุดนายสุบิน  ป้อมโอชา ประธานกรรมการสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2568  อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2568 ว่า ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาภาคสหกรณ์ไม่ได้รับความเป็นธรรมอยู่แล้ว แล้วที่มีมติ ครม.ทบทวนก็เนื่องจากการเรียกร้องจากชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยทำให้มาอยู่ในสถานะที่ภาคสหกรณ์ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น

“แต่อย่างไรก็ดีกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อให้แต่ละภาคส่วนให้อยู่กันได้ แม้ว่าในบางพื้นที่ภาคเอกชนจะได้รับการจัดสรรพื้นที่น้อย ก็ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน แล้วหากพื้นที่ไหนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าว หากภาคสหกรณ์ถอยให้ได้ ก็พร้อมจะถอยให้” นายสุบิน กล่าวย้ำในตอนท้าย

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

นายอาทิตย์ นุกูลกิจ นายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย กล่าวถึง  จากการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2568 ที่ออกมานั้น จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ต้องให้ความสำคัญกับภาคสหกรณ์โคนม รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ที่ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในลำดับแรก ซึ่งในประเด็นนี้ ถือเป็นโอกาสของภาคสหกรณ์โคนม ที่จะสามารถได้สิทธิเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ทำให้สามารถ ดูแลน้ำนมดิบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ส่วนในภาคนมพาณิชย์เอง คงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากหลักเกณฑ์ ปี 2568 นี้ ปริมาณน้ำนมดิบที่เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก เพราะจำนวนหัวนักเรียนในประเทศไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสองปีก่อน น้ำนมดิบขาดตลาดเพราะปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรเลิกเลี้ยง และในส่วนภาคนมพาณิชย์ ก็มีการปรับตัวในเรื่องการใช้น้ำนมดิบไปพอสมควรแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของน้ำนมดิบในประเทศไทย

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

ทั้งนี้ภาครัฐ ยังคงมีการตรวจสอบกำกับดูแลเรื่องน้ำนมดิบอย่างใกล้ชิด และภาคสหกรณ์โคนมที่จะได้สิทธิเพิ่มขึ้น จากหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ยังคงต้องดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และมีแผนบริหารรับผิดชอบน้ำนมโค ตลอด 365 วัน อย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องหลักเกณฑ์นมโรงเรียนแล้ว คงต้องหันกลับมาดู ภาพรวมทั้ง Supply chain ของอุตสาหกรรมนมในประเทศไทย ว่าจะการสร้างความสมดุล ทั้งนมผงเสรี ทั้งน้ำนมดิบในประเทศ  ความชัดเจนในด้าน Demand Supply  รวมถึงการรณรงค์การบริโภคนม ในประเทศไทยอย่างไรเพื่อให้คนไทยได้ดื่มนมเพิ่มขึ้น

 

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการดำเนินการภายหลังการปฏิรูปโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2562 ยังคงพบปัญหาจากแนวทางการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนในหลายประเด็นเช่น การปฏิบัติตามหลักโลจิสติกส์ มีการนำน้ำนมดิบจากนอกกลุ่มพื้นที่ เข้ามาผลิตและจำหน่ายในกลุ่มพื้นพื้นที่เป็นการเพิ่มต้นทุนการขนส่ง ผู้ประกอบการบางรายไม่มีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบเป็นของตนเอง ทำให้ให้ไม่สามารถควบคุมกระบวนการผลิต และไม่สามารถส่งเสริมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกส่งนม

 

ประกอบกับภาคสหกรณ์โคนมมีแนวโน้มได้รับการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายโนโครงการอาหารเสริม (นม)โรงเรียน ลดลง ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2567ที่ผ่านมา คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน เพื่อมุ่งหวังให้ภาคสหกรณ์โคนมได้รับโอกาสในการจัดสรรสิทธิ์ให้เข้าร่วมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ภาคสหกรณ์โคนมได้รับการจัดสรรสิทธิฯ โดยสรุปภาพรวม จำนวน 21 ราย ปริมาณนำนมดิบที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 452.22ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 46.33 และภาคผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ใช่ภาคสหกรณ์โคนม โดยสรุปภาพรวมจำนวน 60 ราย ปริมาณน้ำนมดิบ ที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 523.88 ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 53.67

ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการนมโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ควรเน้นให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่ให้ความสำคัญและดูและดูแลเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยต้องมีการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และการให้ความสำคัญกับภาคสหกรณ์โคนมรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา จะทำให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ที่ปรับเปลี่ยนใหม่ตามสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งการที่มีศูนย์ราบรายน้ำมาเดินเป็นของตนเองด้วยจะสามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้คุณภาพและสามารถส่งเสริมเกษตรกรที่เป็นสมาชิกส่งนมให้มีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ตลอดจนความมั่นคงอาหารและอุตสาหกรรมนมทั้งประเทศ

 

สำหรับพื้นที่จำหน่ายสิทธินมโรงเรียน ปีการศึกษา 2568 แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้

  • สำหรับกลุ่มที่1 มีทั้งหมด 17 จังหวัด ประกอบด้วย  ได้แก่ จังหวัดสระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง,สิงห์บุรี ,ชัยนาท, ปทุมธานี,อยุธยา,นนทบุรี,สุโขทัย,กำแพงเพชร,นครสวรรค์,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบูรณ์,อุทัยธานี และตาก

กลุ่มพื้นที่ 1 กลุ่มพื้นที่ 1

 

  • กลุ่มที่ 2  มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว,ระยอง,ตราด,ชลบุรี,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ปราจีนบุรีและนครนายก

 

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

  • กลุ่มที่ 3 มีทั้งหมด 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น, นครราชสีมา,ชัยภูมิ, บุรีรัมย์,สุรินทร์,ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ยโสธร,หนองบัวลำภู และเลย

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

  • กลุ่ม 4 มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่จังหวัดสกลนคร,ร้อยเอ็ด,มหาสารคาม,อุดรธานี,กาฬสินธุ์,บึงกาฬ,นครพนม,มุกดาหารและหนองคาย

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

  • กลุ่มที่ 5 มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ,เชียงราย,ลำพูน,ลำปาง,พะเยา,แพร่,น่านและแม่ฮ่องสอน

 

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

  • กลุ่มที่ 6 มีทั้งหมด 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี,นครปฐม,กาญจนบุรี, ,ประจวบคีรีขันธ์,เพชรบุรี, สมุทรสงคราม,สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช,ชุมพร,กระบี่,ระนอง,พังงา,ภูเก็ต,สตูล,ตรัง,สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

  • กลุ่มที่ 7 มีทั้งหมด 5 จังหวัด ได้แก่  จัวงหวัดพัทลุง , สงขลา ,ปัตตานี, ยะลา  และนราธิวาส

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

 

อนึ่ง นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) เรื่อง ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2568 ผ่านทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นระยะเวลา 15 วัน นั้น

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะคณะอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการฯ ขอเชิญท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการอาหารบมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2568 ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 12 เมษายน 2568 

ตรวจสอบสิทธิ \"โควตานมโรงเรียน” ปี 2568  สหกรณ์-เอกชน  เช็กพื้นที่กลุ่ม ได้ที่นี่

โดยมีช่องทางการรับฟังความคิดเห็น จำนวน 2 ช่องทาง ดังนี้

1. ส่งหนังสือแสดงความคิดเห็นไปยังฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขที่ ๑๒ ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพ" 

2. แสดงความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน https//schoolmilk.cpd.go.th/index,php ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด พร้อมนี้ ขอความอนเคราะห์ท่านประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานภายใต้สังกัดเพื่อทราบและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศดังกล่าว ภายในระยะเวลาและช่องทางที่กำหนด