นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชขั้นตอนการปลูกโดยการหยอดหรือหว่านเมล็ดถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญหากในขั้นตอนการปลูกไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อความงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง
ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย โดยขั้นตอนการปลูกโดยใช้เครื่องหยอดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถหยอดพืชได้เฉพาะอย่างเท่านั้น เนื่องจากเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีขนาดเมล็ดที่ไม่เท่ากัน และมีคำแนะนำอัตราการหยอดที่ไม่เท่ากัน คือ จำนวนเมล็ดต่อหลุม ระยะห่างระหว่างหลุม และระยะห่างระหว่างแถว
นอกจากอัตราการหยอดที่ต้องปรับเปลี่ยนตามชนิดของพืชแล้ว ลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ก็มีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณแร่ธาตุที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หากเกษตรกรสามารถใส่สูตรปุ๋ยให้ปริมาณตรงตามลักษณะของดินและปริมาณแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินตามคำแนะนำการปลูกพืช ก็จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามหากนำเครื่องหยอดเมล็ดพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ให้สามารถหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยให้ได้อัตราที่หลากหลายเพื่อให้ได้อัตราหยอดตามคำแนะนำการปลูกของพืชแต่ละชนิดจำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องหยอดจึงทำให้เกิดความยุ่งยาก รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราการหยอดด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่มีความแม่นยำอีกด้วย
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่มีศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนมากเป็นอันดับ 1 ซึ่งในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชขั้นตอนการปลูกโดยการหยอดหรือหว่านเมล็ดถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญหากในขั้นตอนการปลูกไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อความงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง
ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย โดยขั้นตอนการปลูกโดยใช้เครื่องหยอดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันสามารถหยอดพืชได้เฉพาะอย่างเท่านั้น เนื่องจากเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีขนาดเมล็ดที่ไม่เท่ากัน และมีคำแนะนำอัตราการหยอดที่ไม่เท่ากัน คือ จำนวนเมล็ดต่อหลุม ระยะห่างระหว่างหลุม และระยะห่างระหว่างแถว
นอกจากอัตราการหยอดที่ต้องปรับเปลี่ยนตามชนิดของพืชแล้ว ลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ก็มีความอุดมสมบูรณ์และปริมาณแร่ธาตุที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หากเกษตรกรสามารถใส่สูตรปุ๋ยให้ปริมาณตรงตามลักษณะของดินและปริมาณแร่ธาตุที่มีอยู่ในดินตามคำแนะนำการปลูกพืช ก็จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามหากนำเครื่องหยอดเมล็ดพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ให้สามารถหยอดเมล็ดพืชและปุ๋ยให้ได้อัตราที่หลากหลายเพื่อให้ได้อัตราหยอดตามคำแนะนำการปลูกของพืชแต่ละชนิดจำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องหยอดจึงทำให้เกิดความยุ่งยาก รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราการหยอดด้วยวิธีดังกล่าวยังไม่มีความแม่นยำอีกด้วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตในขั้นตอนการเพาะปลูกได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการผลิตพืชไร่ของไทย
“เทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นการก้าวไปสู่การทำเกษตรแบบแม่นยำในยุคการเกษตร 4.0 หรือเกษตรอัจฉริยะที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในขั้นตอนการเพาะปลูก เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของไทยเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Hub)
ตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมต่อยอดการพัฒนาเมล็ดพันธุ์เป็นสินค้าส่งออกในอนาคต สร้างความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรของไทย เกษตรกรที่สนใจนำเครื่องหยอดเมล็ดและปุ๋ยแบบอัตโนมัติไปใช้งานหรือนำไปรับจ้างสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 02-5792757” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว