นายรังษี ไผ่สะอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เรื่องต้นทุนของเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง ซึ่งจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (26 ส.ค.65) กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ซึ่งต้นทุนที่ออกมาไม่ตรงกับต้นทุนแท้จริงของชาวไร่ เนื่องจากเป็นค่าถัวเฉลี่ยทั้งประเทศ เช่น เกษตรกรอินทรีย์ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ก็นำมารวมด้วยอยู่ในนี้ ก็เลยถ่วงลงไปอีก เพราะต้นทุนต่ำ อย่างบางคนไถเอง ก็ไม่มีต้นทุน เพราะถ้าสำรวจจริงก็ต้องสำรวจที่ปลูกมันจริงจัง ไม่ใช่ทำบ้างไม่ทำบ้าง
โครงการแบบนี้ไม่ได้ช่วยทำให้เกษตรกรพัฒนาเลย พ่อค้าได้ประโยชน์ แล้วเวลาที่พืชเกษตรตกต่ำ เนื่องจากความต้องการน้อยก็อ้างว่าเป็นกลไกการตลาด เพราะของเยอะความต้องการน้อย รัฐบาลจะทำอะไรได้ นี่คือคำตอบของรัฐบาล วันนี้ความต้องการมากกว่าผลผลิต ทำไมไม่เอากลไกการตลาดมาใช้ รัฐบาลมาบีบราคาไว้ทำไม และรัฐบาลมาเสียเวลากับเรื่องพวกนี้ทำไม กระทรวงพาณิชย์ต้องไปคุมให้ราคาเป็นธรรม ไม่ต้องเอาแพงเว่อร์
"เช่น พ่อค้านำเข้าข้าวโพด ข้าวสาลี จากต่างประเทศ เข้ามา 14 บาท/กก. ราคาข้าวโพด 12 บาท/กก.ก็พอ ทำไมไม่ตั้งราคา 12 บาท/กก.ไปเลย ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14% สินค้าในร้านสะดวกซื้อติดราคาหมด ยกเว้นของเกษตรกร เป็นเพราะอะไร เกษตรกรเป็นผู้ผลิต แต่ทำไมไม่สามารถกำหนดราคาได้ ต้องเท่าเทียม แล้วถ้าตั้งราคามันสำปะหลังในรอบนี้ที่ 2.50 บาท/กก. ผมล้มโต๊ะเลย ไม่เอา"
นายรังษี กล่าวว่า โครงการประกันรายได้มันสำปะหลังตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีการตั้งราคาประกันรายได้ราคามันสำปะหลังอยู่ที่ กิโลกรัมละ 2.50 บาท/กิโลกรัม เป็นราคาที่เท่ากันตลอดมา ซึ่งไม่สะท้อนความเป็นจริงของต้นทุนการเพาะปลูกมันลำปะหลังแต่ละปี ที่มีต้นทุนปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี จากสาเหตุของราคาน้ำมัน ราคาปุ๋ย ราคาสารกำจัดวัชพืช และอีกทั้งยังมีโรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่ส่งผลกระทบทำให้ได้ผลผลิตลดต่ำลง ทำให้ต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังสูงขึ้นทุกปี
สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรทุกภาคมาหาค่าเฉลี่ยได้ต้นทุนที่ กิโลกรัมละ 2.75 บาท ( ยังไม่มีกำไร ) ดังนั้นจึงขอให้ตั้งรากาประกันรายได้มันสำปะหลังปี 2565/66 ที่กิโลกรัมละ 2.75 บาท/กิโลกรัม เพื่อให้เหมาะสมกับกับราคาต้นทุนการปลูกมันจริงๆ พร้อมกับมาตรการคู่ขนานตามโครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง ปี 2565/66 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลัง ใน 3 โครงการเดิม และขอเพิ่มใหม่ 3 โครงการ ดังต่อไปนี้
1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนาการผลิตและเพิ่มผลิตภาพการผลิตของเกษตรกร โดยให้วงเงินกู้รายละ 230,000 บาทและรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 บาทต่อปี จะขอเพิ่มวงเงินกู้ให้เป็นรายละ 300,000 บาท และต้องไม่นับรวมหนี้สินเดิม ขอเป็นวงเงินกู้เพิ่มใหม่
2.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ได้มีเงินทุนไปใช้รวบรวมหัวมันสดและมันเส้นนั้น ขอให้ธนาคาร ธกส. ได้ผ่อนปรนเงื่อนไขหลักเกณฑ์ในการขอกู้เงินให้กับกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ ให้สมารถกู้เงินได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมานั้น กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ขอกู้เงินโครงการนี้ยากมาก จนเข้าไม่ถึงโครงการ
3. โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลังโดยสนับสนุนเครื่องสับมันขนาคเล็กจำนวน 650 เครื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา เกษตรกรได้หันมาแปรรูปหัวมันสดเป็นมันเส้นมากขึ้น พราะสามารถสร้างมูลค่ามันสำปะหลังให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมันเส้นสะอาดที่เกษตรกรผลิตได้ตลาดมีความต้องการมากขึ้นจำนวนเครื่องสับมันขนาดเล็กจำนวนที่ให้ไม่เพียงพอ จึงขอให้จัดทำเพิ่มให้ทุกๆ ปี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มเกษตรกร และช่วยชะลอการนำหัวมันสดสู่โรงงานแป้งมันได้เป็นอย่างดี
4. ขอโครงการเพิ่มเติมในค้นการแปรรูปมันสำปะหลังของมันสำปะหลังแปลงใหญ่ เป็นเครื่องสับมันขนาดกลาง ( ตามรูปภาพ) เพื่อให้สามารถแปรรูปมันสำปะหลังได้เพิ่มมากขึ้นเหมาะสมกับพื้นที่ปลูกมันแปลงใหญ่สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมกันปลูกมันแปลงใหญ่ จำนวน 10 เครื่องในปีแรก ราคาเครื่องละประมาณ 140,000 บาท มีกำลังการผลิต 10 ตันต่อชั่วโมง
5.ขอโครงการเพิ่มเติมในด้านเพิ่มศักยภาพการเก็บมันเส้น ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมันแปลงใหญ่ได้มีสถานที่เก็บมันเส้นที่แปรรูปแล้ว โคยจัดให้มี โกดังเก็บมันเส้นจำนวน 100 ตันพร้อมเครื่องชั่งรถบรรทุกขนาค 50 ตัน จำนวนปีละ 1 แห่ง เพื่อกลุ่มเกษตรกรได้มีสถานที่เก็บมันเส้น ไว้รอการขายที่ได้ราคาดี
6. ขอเพิ่มโครงการอบรมและส่งเสริมการแปรรูปมันสำปะหลังกินได้ และนวัตกรรมใหม่ในการแปรรูปการผลิตมันสำปะหลังกินได้ ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกมันพันธุ์พิรุณสอง ซึ่งเมื่อสามปีก่อนกรมการค้าภายในเคยจัดทำโครงการนี้ร่วมกับหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงอยากส่งเสริมให้มีการอบรมขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้ามันสำปะหลังกินได้ เป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่งต่อไปด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อย่างไรก็ดีคาดว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสําปะหลัง (นบมส.) ประมาณต้นเดือนกันยายน หรือ สัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายนนี้