พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชวนคนไทยเที่ยว"ตลาดต้องชม"

03 ก.ย. 2565 | 19:00 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ย. 2565 | 21:52 น.

พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากชวนคนไทยเที่ยว "ชม ชิม ช้อป" ตลาดต้องชม ณ ตลาดริมยม 2437 สุโขทัย ร้านค้าชุมชนมากกว่า 60 ร้าน

 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้ชื่อ ตลาดต้องชม โดยปัจจุบันมีตลาดต้องชม ในความส่งเสริมของกรมการค้าภายในทั่วประเทศกว่า 200 แห่ง ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยสินค้าในตลาดต้องชม โดยขอเชิญชวนให้เข้ามาช้อป มาเที่ยว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน

และเลี้ยวเข้าตลาดต้องชม เพื่อเป็นการอุดหนุนพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ชุมชน เพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยในปี 2565 กรมฯ ได้มีการจัดกิจกรรม เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงสินค้าและบริการตลาดชุมชนในตลาดต้องชมมากถึง 193 ครั้ง ใน 40 จังหวัดทั่วประเทศ

พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชวนคนไทยเที่ยว\"ตลาดต้องชม\"

พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชวนคนไทยเที่ยว\"ตลาดต้องชม\"

ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้ใก้กับชุมชน กรมฯเดินหน้าจัดกิจกรรมชม ช้อป ชิม ณ ตลาดริมยม 2437 อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย โดยภายในตลาดมีร้านค้าชุมชนมากกว่า 60 ร้านค้า มีร้านค้าเป็นที่นิยม มีอาหารและขนมท้องถิ่นดั้งเดิม ที่มีการสืบทอดมาจากคนหลายรุ่น เช่น ร้านขนมกงชะมดงาดำ ร้านขนมผิงป้าติ๋ม ทอดมันริมยม ก๋วยจั๊บเจ๊กล ปลาร้า และร้านผัดไทใบตอง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้เดินทางมาเที่ยวชม ชิม ช้อป

พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชวนคนไทยเที่ยว\"ตลาดต้องชม\"

ทั้งนี้ ตลาดตลาดริมยม 2437 มีเอกลักษณ์เฉพาะตลาด คือ การที่พ่อค้าแม่ค้าแต่งกายธีมย้อนยุครูปแบบต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในทุกเดือน ในวันนี้เป็นธีม “แหยม ยโสธร” และมีการพัฒนาโซน Street Art เพื่อให้นักท่องเที่ยว ชุมชน

และเด็ก ๆ ร่วมทำกิจกรรมในตลาด เช่น เพ้นท์ภาพลงบนผืนผ้า ระบายปูนพลาสเตอร์ และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก รวมทั้ง ยังมีกิจกรรมมากมายให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม เช่น รับคูปองส่วนลด DIT go เพื่อใช้จับจ่ายซื้อของในตลาด และเล่มเกมส์เพื่อลุ้นรับของรางวัล

พาณิชย์ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ชวนคนไทยเที่ยว\"ตลาดต้องชม\"

ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์นี้ ตลาดได้จัดพื้นที่พิเศษให้เกษตรกรผู้ปลูกลองกอง จ.อุตรดิตถ์ และมะนาว จ.พิจิตร ได้มาร่วมขายสินค้าในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ถือเป็นการขยายช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเกษตร สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น