ธ.ก.ส. เตรียม 1.7 แสนล้านบาท ช่วยฟื้นฟูเกษตรกร หลังโควิด-19

25 พ.ค. 2563 | 07:50 น.

ธ.ก.ส. เตรียม 1.7 แสนล้านบาท เป็นทุนประกอบอาชีพ หลัง โควิดคลี่คลายลง เผยผลงาน ช่วยเกษตรกรลูกค้ากว่า 4 ล้านบาท มูลหนี้ 1.42 ล้านล้านบาท

ธ.ก.ส. เตรียม 1.7 แสนล้าน ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร หลังสถานการณ์ โควิด-19 คลี่คลาย หลังออก 7  มาตรการช่วยเกษตรกร อย่างต่อเนื่อง ทั้งขยายเวลาชำระหนี้ พักชำระหนี้และสนับสนุนเงินทุนให้กับเกษตรกรกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน SMEs เกษตร  โดยมีเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และบุคคลในครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า 4 ล้านราย มูลหนี้รวมกว่า 1.42 ล้านล้านบาท

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เปิดเผย ธ.ก.ส.ได้เตรียมออกสินเชื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกร หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง  เพื่อให้มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรือ สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  3 โครงการคือ

ธ.ก.ส. เตรียม 1.7 แสนล้านบาท ช่วยฟื้นฟูเกษตรกร หลังโควิด-19

1) สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ สำหรับ เกษตรกรลูกค้า หรือผู้ที่สนใจ ซึ่งไม่เคยเป็นลูกค้า ธ.ก.ส.มาก่อน ให้มีเงินทุนประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท กู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท

2) สินเชื่อนิวเจนฮักบ้านเกิด สำหรับเกษตรกร ทายาทเกษตรกร หรือคนรุ่นใหม่ที่กลับคืนสู่ภูมิลำเนาและสนใจในการทำเกษตรกรรม วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท

3) สินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ สำหรับเกษตกรที่ได้รับการพักชำระหนี้ เพื่อเป็นเงินทุนในการทำการเกษตรระยะสั้น ปีการผลิต 2563/64 วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท

“ทั้ง 3 โครงการ อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ซึ่งจะเร่งเสนอโครงการ เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาเห็นชอบโดยเร็วต่อไป และธ.ก.ส.ยังเตรียม มาตรการช่วยเหลือให้ เกษตรกรลูกค้า กลับมาพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและชุมชน มีรายได้ ควบคู่กับการร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยหวังว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 1 แสนราย”

ธ.ก.ส. เตรียม 1.7 แสนล้านบาท ช่วยฟื้นฟูเกษตรกร หลังโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ออก 7 มาตรการเพื่อช่วยเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คือ

 1) ขยายเวลาชำระหนี้ ลดดอกเบี้ย ปลอดชำระต้นเงิน 3 ปีแรก ให้กับลูกหนี้ปกติ และลูกหนี้ NPL ครอบคลุมทั้ง เกษตรกรลูกค้า ผู้ประกอบการและสถาบัน และยังมีสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ในการประกอบอาชีพลูกหนี้เพิ่มเติม เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งมีลูกค้าได้รับความช่วยเหลือกว่า 3.85 ล้ายราย มูลหนี้รวม 1.42 ล้านล้านบาท

2) ช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีงวดชำระเป็นรายเดือน โดยพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย 3 เดือน โดยอัตโนมัติ  ทั้งในส่วนของเกษตรกรและบุคคลทั่วไป ทั้งประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือ 89,735 ราย มูลหนี้รวม 32,647 ล้านบาท

3) มาตรการช่วยเหลือ SMEs แบ่งเป็น พักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ย  6 เดือน แบบอัตโนมัติทุกราย ที่มีเงินกู้รวมไม่เกิน 100 ล้านบาท และในระหว่างพักชำระหนี้ ใครที่ต้องการชำระหนี้ ธ.ก.ส. จะคืนดอกเบี้ย 10% ของเงินที่ส่งชำระ (Cash Back) ซึ่งมีลูกค้า SMEs ที่ได้รับความช่วยเหลือ  667,928 ราย มูลหนี้รวม 221,104 ล้านบาท และสนับสนุนสินเชื่อ Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ให้ผู้ประกอบการไปแล้ว 11,341 ราย เป็นเงิน 5,564.41 ล้านบาท

4) มาตรการพักชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งระบบ ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเมษายน 2563 - มีนาคม 2564 เป็นเวลา 1 ปี โดยอัตโนมัติ  ซึ่งมีลูกค้าที่เข้าข่ายการได้รับความช่วยเหลือ 3,348,378 ราย มูลหนี้รวม 1,265,492 ล้านบาท

5) สินเชื่อฉุกเฉิน วงเงิน 20,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นและฉุกเฉินในครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0.1% ต่อเดือน รายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน มีเกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรลงทะเบียนเพื่อรับสินเชื่อแล้ว 2,082,967 ราย อนุมัติสินเชื่อไป 201,573 ราย เป็นเงินกว่า 2,000 ล้านบาท

6) มาตรการชดเชยรายได้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ “เราไม่ทิ้งกัน” โดยจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้กำหนดให้มีผู้พิทักษ์สิทธิ์ 5,630 ราย ทำหน้าที่สอบทานการประกอบอาชีพของผู้ขอทบทวนสิทธิ์ไปแล้ว  212,987 ราย จากทั้งหมด 218,621 ราย คิดเป็น 97.4%

7) มาตรการช่วยเหลือ เยียวยาเกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน จำนวน 10 ล้านราย วงเงินงบประมาณ 150,000 ล้านบาท โด ได้โอนเงินเยียวยาให้เกษตรกรไปแล้ว  4,722,198 ราย เป็นเงิน 23,610.98 ล้านบาท

อ่านข่าวประกอบ

 “เกษตรกร” รีบแจ้งบัญชีเพื่อรับเงินเยียวยาที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com