นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูว่า ตัวเลขเมื่อวันที่ 12กรกฎาคมที่ผ่านมาสินเชื่อฟื้นฟูได้รับอนุมัติไปแล้วกว่า 7.23 หมื่นล้านบาท ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 2.36 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินเฉลี่ย 3.1 ล้านบาทต่อราย ซึ่งสะท้อนการกระจายตัวได้ดี โดยพบว่าประมาณ 44.5% อยู่ในกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี และน่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท
สำหรับสินเชื่อฟื้นฟูที่ได้รับอนุมัตินั้น แบ่งตามวงเงินสินเชื่อเดิมเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 34,018 ล้านบาทคิดเป็น 47.0% ลูกหนี้ที่ได้รับอนุมัติ 10,451รายคิดเป็นสัดส่วน 44.1%รองลงมา เป็นธุรกิจรายใหญ่ จำนวนเงิน 29654ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 41.0% ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 1,842รายประมาณ 8% สำหรับลูกหนี้ไมโครได้รับสินเชื่อจำนวน 6,414ล้านบาท คิดเป็น 8.9%ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 10,534รายมีสัดส่วน44.5% และลูกหนี้ใหม่ได้รับอนุมัติ 2,305ล้านบาทสัดส่วน 2%จำนวน 860 รายสัดส่วน3.6 %
เมื่อแยกตามประเภทของธุรกิจพบว่า ธุรกิจพาณิชย์ได้รับอนุมัติสินเชื่อ 34,988ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 48.8% ลูกหนี้ได้รับการช่วยเหลือ 12,533รายสัดส่วน 52.9% รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิต วงเงิน 17,342ล้านบาท สัดส่วน 24.0%จำนวน 3,627รายสัดส่วน 15.3% ส่วนภาคบริการ ได้รับวงเงิน 7,358ล้านบาทสัดส่วน 10.2%จำนวนราย 3,481รายสัดส่วน 14.7% ภาคก่อสร้าง วงเงิน 6,797ล้านบาทสัดส่วน 9.4% จำนวน 2,300รายสัดส่วน 9.7%และสาธารณูปโภควงเงิน2,436ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.4%จำนวน 848รายสัดส่วน 3.6%
อนึ่ง หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดให้สถาบันการเงินยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟู เมื่อ 26เมษายน 2564ตามที่ พระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การให้ความช่วยเหลือมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งครอบคลุมถึงลูกหนี้รายใหม่ ไมโคร วงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกิน 5ล้านบาท, ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีวงเงินสินเชื่อเดิม 5-50ล้านบาท และสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ วงเงินสินเชื่อเดิม 50-500ล้านบาท