จากการที่ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด13 จังหวัด ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจและลูกหนี้รายย่อย
ล่าสุด กระทรวงการคลัง สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ จึงได้ออกมาตรการเร่งด่วน พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยให้มีผลตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฏาคม 2564 เป็นต้นไป และเมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ในทันทีเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้
ใครบ้างมีสิทธิได้รับการพักชำระหนี้
• ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั่วประเทศ คือ นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของภาครัฐ
• ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงเนื่องจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ซึ่งเงื่อนไขนี้ สถาบันทางการเงินจะพิจารณาช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้อีกครั้ง
"ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมแจงเงื่อนไขลูกค้าที่มีสิทธิเข้าร่วม การลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ รายละเอียดดังนี้
เปิดเงื่อนไข ธนาคารที่เข้าร่วมมาตรการ
ธนาคารกรุงเทพ
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค
- ลูกค้าที่ยังสามารถเปิดดำเนินกิจการ แต่ได้รับผลกระทบด้านรายได้ที่ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สามารถปรึกษาธนาคาร โดยธนาคารจะนำเสนอความช่วยเหลือตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ :
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม -15 สิงหาคม 2564
- ผ่านเว็บไซต์ www.bangkokbank.com / https://bit.ly/36C2eyn หรือ
- โมบายแบงก์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ หรือ
- สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ หรือ
- บัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 02645 5555
ธนาคารกรุงไทย
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้า SME และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของทางการ
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม -15 สิงหาคม 2564
- ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
- หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของลูกค้า
- สอบถามเพิ่ม: Krungthai Contact Center 02-111-1111
- ธนาคารไทยพาณิชย์
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- นอกจากได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศบค. ยกระดับมาตรการควบคุม 10 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงสุด
- ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ณ วันลงทะเบียนแจ้งขอพักชำระหนี้ 2 เดือน
- เงินต้นและดอกเบี้ยที่คิดในช่วงพักการชำระหนี้ยังคงคำนวณในอัตราปกติ
- การพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฏาคม -15 สิงหาคม 2564
- ผ่านแอปฯ SCB EASY (เฉพาะลูกค้าบุคคล)
- ระบบอัตโนมัติ SCB Call Center โทร. 02-777-7777
- ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลลูกค้า
ธนาคารกสิกรไทย
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
- ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564
- ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822
- ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888
- LINE KBank Live คลิก https://kbank.co/LINEfriend
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- สมาชิกที่มีบัญชีบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ซึ่งมีสถานะบัญชีปกติ
- เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของภาครัฐ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด
- ทั้งนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่ 19กรกฎาคม -18 สิงหาคม 2564
- ทางแอปพลิเคชัน UChoose
- ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิต ได้แก่
- ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิตกรุงศรีอยุธยา โทร. 02-646-3555
- ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน โทร. 02-627-8111
- ศูนย์บริการสมาชิกบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ โทร. 02-345-6789
- ศูนย์บริการสมาชิกบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า โทร. 1712
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และสินเชื่อรายย่อยในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
ลงทะเบียนและแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม-15 สิงหาคม 2564
- ลูกค้ารายย่อย : สแกน QR Code ในภาพลงทะเบียน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME : ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลบัญชีของท่าน
- LH Bank Call Center โทร.1327
ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb)
ลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- ลูกค้าบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์ และลูกค้าสินเชื่อเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม ซึ่งเป็นลูกค้าที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ ธนาคารมีแนวทางช่วยเหลือ ดังนี้
- สำหรับลูกค้าสินเชื่อเล่มแลกเงิน (รถแลกเงินแบบลดต้นลดดอก) ที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารมีมาตรการให้พักชำระค่างวด หรือลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 30% และคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
- มาตรการสำหรับลูกค้าสินเชื่อเอสเอ็มอี ที่มีวงเงินกู้ระยะยาว วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี(O/D) และวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน ธนาคารจะพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด นาน 2 เดือน
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564
- ลูกค้ารายย่อยลงทะเบียนผ่านโครงการ “ตั้งหลัก” ในเว็บไซต์ www.ttbbank.com/tang-lukลูกค้าเอสเอ็มอี (นิติบุคคล)
- ลูกค้าธุรกิจ ลงทะเบียน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือ ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000 กด 1 กด 2
- อีเมล: [email protected] (ระบุข้อมูล: ชื่อบริษัท/เลขจดทะเบียนนิติบุคคล (13 หลัก)/ชื่อ-นามสกุลผู้ติดต่อ/เบอร์โทรศัพท์มือถือ)
- ลูกค้าเอสเอ็มอี (บุคคลธรรมดา) ลงทะเบียน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ทีเอ็มบีธนชาต คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 1428 กด 3 กด 2
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
- มาตรการที่ 15 [M 15] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้หรือสถานะกฎหมาย
- มาตรการที่ 16 [M 16] : พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2564 สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน ) หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
- สำหรับดอกเบี้ยที่พักชำระเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างการใช้มาตรการที่ 15 และ 16 ลูกค้าสามารถทยอยชำระให้เสร็จสิ้นก่อนวันครบกำหนดสัญญากู้เงิน หรือ ปิดบัญชี
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการ
- ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ/ธุรกิจ/การค้า และยังไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดได้
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ตั้งแต่วันที่19 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00 น. – วันที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น.
- ผ่านApplication : GHB ALL หรือLine GHB Buddy
- ต้อง Upload หลักฐานยืนยันการได้รับผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น
- กรณีไม่มีสมาร์ตโฟนสามารถกรอกข้อมูลได้ที่ www.ghbank.co.th
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์)
มาตรการออกมาตรการพักชำระค่างวด (เงินต้นและกำไร) นาน 2 เดือน สำหรับลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs สินเชื่อธุรกิจรายย่อย MSMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภค เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนสิงหาคม และ กันยายน 2564
เงื่อนไขลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการ
- เป็นลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs หรือลูกหนี้ธุรกิจรายย่อย MSMEs ที่เป็นผู้ประกอบกิจการ หรือ ลูกหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคที่เป็นลูกจ้าง/พนักงาน ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการของทางการ
- ต้องไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือ
ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
- ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจ SMEs สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่พนักงานการตลาดสินเชื่อ (RM) หรือผ่านสาขาธนาคาร
- ลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจรายย่อย MSMEs และสินเชื่ออุปโภคบริโภค สามารถแจ้งความประสงค์ทางอีเมล์ [email protected]
- ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2564 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ibank Call Center 1302