10 ธนาคารธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ(BBL) บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB) บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) บมจ.ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(TTB) บมจ.ธนาคารทิสโก้(TISCO) บมจ.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร(KKP) บมจ. และแลนด์แอนด์เฮ้าส์(LHFG) และบมจ.ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT)
มีกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2564 รวม 51,263ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,957 ล้านบาทหรือคิดเป็น 69.14% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 30,307ล้านบาท และเมื่อรวมครึ่งแรกของปี 2564 มีกำไรสุทธิรวม 97,896 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,751ล้านบาทหรือ 26.89%
สำหรับไตรมาสสองปี 2564 กำไรสุทธิที่ปรับเพิ่ม 69.14% นำโดยธนาคาร กสิกรไทย 309% ธนาคาร กรุงศรี 123.5% ธนาคารกรุงเทพ 105.4% ซีไอเอ็มบีไทย 100.32% และกรุงไทย 60.08% ที่เหลือ 2 ธนาคารกำไรปรับลดลง ได้แก่ ทีทีบี และ แอลเอชเอฟจี
เมื่อพิจารณางวดครึ่งปีแรกพบว่า ธนาคารที่มีกำไรเติบโตสูงสุด คือ กสิกรไทย 104.4% รองลงมาเป็นธนาคาร กรุงศรี 55.45% โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นจากการบันทึกกำไรพิเศษของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการขายหุ้นในบริษัท เงินติดล้อ จำากัด (มหาชน) (เงินติดล้อ) ในไตรมาส 2/2564 หากไม่รวมการบันทึกกำไรพิเศษ กำไรสุทธิจากการด าเนินธุรกิจปกติในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ลดลง 5.0% หรือจำนวน 678 ล้านบาท จากช่วงครึ่งแรกของปี 2563
ตามด้วยธนาคาร กรุงเทพ 23.4% ธนาคารทิสโก้ 21.85% และธนาคารกรุงไทย 13.37% โดยมี 3 ธนาคารที่กำไรปรับลดลงได้แก่ ซีไอเอ็มบีไทย ทีทีบี และแอลเอซเอฟ
ทั้งนี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ยังคงให้น้ำหนักในการตั้งสำรองต่อเอ็นพีแอลในไตรมาสสองของปีนี้ ส่วนใหญ่กันสำรองฯ ปรับเพิ่มจากไตรมาสก่อนเห็นได้จากธนาคาร กรุงเทพ สัดส่วนกันสำรองต่อเอ็นพีแอลอยู่ที่ 190.33% กรุงไทย 160.70% ไทยพาณิชย์ 142.34% กสิกรไทย 154.09% กรุงศรีฯ 175.79% ทีทีบี 124.98% ทิสโก้ 213.75%ซีไอเอ็มบีไทย 110.38% ยกเว้น ธนาคารเกียรตินาคินกันสำรองลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การประคองผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ยังเป็นโจทย์ที่ท้าทาย เพราะสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในภาพรวมยังคงขึ้นอยู่กับการสกัดการแพร่ระบาดของโควิด 19 การเร่งจัดหาและกระจายวัคซีน
ตลอดจนการเยียวยาภาคส่วนที่ถูกกระทบจากวิกฤตโควิดที่ทันต่อสถานการณ์ และสำหรับโจทย์ภารกิจเฉพาะหน้าที่สำคัญของสถาบันการเงิน น่าจะอยู่ที่การเร่งช่วยเหลือลูกหนี้ในกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อยในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมเข้มงวด 10 จังหวัด
โดยจากข้อมูลธปท. สินเชื่อ SMEs และรายย่อยใน 10 จังหวัดดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 31.9% ของสินเชื่อรวม ณ ไตรมาสที่ 1/2564 ของระบบธนาคารพาณิชย์