ธปท.จับตา “การแพร่ระบาดในโรงงาน ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิต

30 ก.ค. 2564 | 10:21 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ค. 2564 | 17:35 น.

ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือนมิ.ย.และไตรมาส2ได้รับผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อ การบริโภคหดตัวมาก แต่ส่งออกยังช่วยผยุง ความเชื่อมั่นผู้บริโภค-ธุรกิจเหือด

ธปท.จับตา “การแพร่ระบาดในโรงงาน ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิต

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)แถลงภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2564  โดยระบุว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนยังเห็นผลของการระบาดต่อเนื่อง โดยการบริโภคแม้จะปรับดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอ่อนแอ สอดคล้องดัชนีภาคการผลิต ดัชนีภาคการลงทุนมีสัญญาณทรงตัวจาการส่งออกที่ดีส่งผ่านมายังภาคการผลิตคงตัวอยู่ได้ แต่การผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศมีผลกระทบบ้างแล้วจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ ขณะที่สินค้าเกษตรยังเติบโตได้จากปริมาณฝน

ธปท.จับตา “การแพร่ระบาดในโรงงาน ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิต

สำหรับเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนและเครื่องชี้ภาคบริการโดยรวมยังอ่อนแอ แม้ปรับดีขึ้นบ้างจากเดือนก่อน เห็นได้จากการบริโภคเอกชนขยายตัว 1.2% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.8% แต่เทียบไตรมาสสองหดตัวลงมา 1.8%จากไตรมาสแรก โดยมาจากหมวดสินค้าคงทน ยอดขายรถยนต์นั่งและมอเตอร์ไซด์ สินค้าไม่คงทนปรับตัวดีขึ้นจากน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนภาคบริการยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน

 ด้านตลาดแรงงานเปราะบางขึ้น  โดยสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานในระบบประกันสังคมยังสูง 2.6% ขณะเดียวกันการขอรับสิทธิใหม่เพิ่มขึ้น 0.7%ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่อง ซึ่งต้องจับตาอาจจะมีผลต่อการบริโภคในระยะข้างหน้า  ส่วนการส่งออกสินค้าเดือนมิถุนายนขยายตัว 1.4%ไตรมาส 2ขยายตัว 5.3 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้า และยังคงช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่อไปได้  การส่งออกหลักๆมาจากหมวดอิเล็กทรอนิกส์   เกษตรแปรรูป   เครื่องใช้ไฟฟ้าปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน  ส่วนการส่งออกเหล็ก ผู้ผลิตหันไปส่งออกมากขึ้นด้วย   ซึ่งการส่งออกที่ขยายตัวช่วยประคองดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยหลักมาจากหมวดยานยนต์  หมวดปิโตรเลียม  และการผลิตวัสดุก่อสร้างจากคุมการระบาดในแคมป์ก่อสร้าง

หากพิจารณาเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัว ขยายตัวเล็กน้อย 0.2%จากเดือนพ.ค.อยู่ที่ -0.3% ไตรมาสสองขยายตัว 2.7%จาก 5.5%ในไตรมาสแรก โดยเติบโตจากหมวด เครื่องจักร อุปกรณ์ และอุปกรณ์โทรคมนาคมด้วย ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางการส่งออก

อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นของธุรกิจส่วนการลงทุนยังต้องจับตา  แต่ภาคผลิตยังดีตามการผลิตเพื่อส่งออกแต่ภาคที่ไม่อยู่ในภาคการผลิตความเชื่อมั่นอยู่ในระดับต่ำบางหมวดถูกกระทบ โดยภาครัฐยังคงมีบทบาทในการประคับประคองเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยรายจ่ายไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน รายจ่ายประจำเติบโต 1.2% รายจ่ายการลงทุนปรับดีขึ้นเป็น 2.8%จากด้านคมนาคมเป็นหลัก ส่วนการเบิกจ่ายรัฐวิสาหกิจหดตัว -3.9%ในเดือนมิถุนายน

เสถียรภาพต่างประเทศนั้น   ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอยู่ที่ 1.3พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากดุลบริการ รายได้และเงินโอนลดลง ส่วนหนึ่งบริษัทต่างชาติส่งกำไรกลับประเทศ และดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากการส่งออก สำหรับไตรมาส2 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.2พันล้านดอลลาร์ ด้านค่าเงินบาทอ่อนค่าเล็กน้อย สาเหตุหลักมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์และปัจจัยการระบาดภายในของไทย   โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม  เงินบาทอ่อนค่าลงมาก   เหตุจากนักลงทุนกังวลการระบาดของสายพันธุ์เดลตา บวกกับการระบาดในประเทศที่รุนแรงขึ้น

ธปท.จับตา “การแพร่ระบาดในโรงงาน ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิต

ด้านเสถียรภาพในประเทศ เงินเฟ้ออยู่ที่ 1.25% ปรับลดลงจาก 2.44% เดือนก่อนหน้า   สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2564 มีแนวโน้มปรับลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดที่กลับมาเข้มงวดขึ้น ซึ่งพื้นที่สีแดงเข้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงเพราะได้รับผลกระทบมากกว่า โดยผลสำรวจผู้ประกอบการพบว่าสถานการณ์เดือนกรกฎาคมแย่ลงในหลายธุรกิจ  ภาคการผลิตในประเทศได้รับผลกระทบ แต่ตลาดส่งออกยังขยายตัวโดยปัจจัยเสี่ยงคือ การแพร่ระบาดในโรงงาน  เรื่องขาดแคลนวัตถุดิบ  อสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบเพิ่มในพื้นที่สีแดงเข้มและภาคบริการรายได้ลดลง

“สรุปเดือนมิถุนายนและไตรมาสสอง ภาพจะคล้ายกับ เศรษฐกิจไทยได้รับผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อ  จะเห็นการบริโภคปรับลดลงค่อนข้างมากแต่การส่งออกยังช่วยผยุงเศรษฐกิจและภาคการผลิต หากมองแนวโน้มเดือนกรกฎาคมกิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับลดลงคงมาจากการระบาดที่รุนแรงขึ้นและมาตรการควบคุม”

ธปท.จับตา “การแพร่ระบาดในโรงงาน ปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการผลิต