เทียบ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ของ ธปท. กับ คลินิกแก้หนี้ แบบไหนดีกว่ากัน

18 ก.ย. 2564 | 17:30 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ย. 2564 | 16:55 น.

เปรียบเทียบเงื่อนไข โครงการที่เกี่ยวข้องกับ การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ของธนาคารแห่งประเทศไทย กับ โครงการคลินิกแก้หนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย แบบไหนจะดีกว่ากัน สรุปให้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดโครงการ/มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับ การรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ซึ่งพบว่า มีทั้งโครงการการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย โดยวิธีการรวมหนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และโครงการคลินิกแก้หนี้ ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของลูกหนี้

แต่มีคำถามว่า โครงการของ ธปท. กับ คลินิกแก้หนี้ เมื่อเทียบข้อดีข้อเสียกันแล้ว โครงการใดดีกว่ากัน และมีความต่างกันอย่างไรบ้าง ดังนี้

 

การปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย โดยวิธีการรวมหนี้ ของ ธปท. 

ประเภทหนี้ที่เข้าร่วม

  • บัตรเครดิต 
  • สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน  
  • สินเชื่อเช่าซื้อ
  • สินเชื่อบ้าน 

ลักษณะของมาตรการ

  • รวมสินเชื่อทุกประเภท โดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน (เฉพาะผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน)

ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ

  • ตั้งแต่ 1 ก.ย. 63- 31 ธ.ค. 64

เทียบ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ของ ธปท. กับ คลินิกแก้หนี้ แบบไหนดีกว่ากัน

สถานะของสินเชื่อ

  • สินเชื่อบ้าน ไม่เป็น NPL
  • สินเชื่ออื่น ทั้งที่เป็นและไม่เป็น NPL 

อัตราดอกเบี้ย

  • สินเชื่อบ้าน ไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม
  • สินเชื่อที่ปรับโครงสร้างหนี้ ไม่เกิน MRR

ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้

  • ตามที่ผู้ให้บริการทางการเงินตกลงกับลูกหนี้

สามารถใช้วงเงิน บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ที่ยังไม่ได้ใช้ได้หรือไม่

  • ตามความสามารถในการชำระของลูกหนี้

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (เช่นค่าธรรมเนียม ค่าปรับ)

  • ต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนีมหรือค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น
  • ต้องไม่เรียกเก็บเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด( Prepayment fee)

ประวัติข้อมูลเครดิต 

  • ไม่มีประวัติ

โครงการคลินิกแก้หนี้  

ประเภทหนี้ที่เข้าร่วม

  • บัตรเครดิต 
  • สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน  

ลักษณะของมาตรการ

  • รวมหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ของผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เข้าร่วมโครงการไว้ในที่เดียว

ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ

  • สมัครเข้าร่วมได้ตลอดเวลา 

สถานะของสินเชื่อ

  • เป็น NPL แล้วเท่านั้น

อัตราดอกเบี้ย

  • 4 - 7% 

ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้

  • ตามที่ผู้ให้บริการทางการเงินตกลงกับลูกหนี้

สามารถใช้วงเงิน บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ที่ยังไม่ได้ใช้ได้หรือไม่

  • ไม่ได้

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (เช่นค่าธรรมเนียม ค่าปรับ)

  • ต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนีมหรือค่าบริการอื่นใดโดยไม่จำเป็น
  • ต้องไม่เรียกเก็บเบี้ยปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด( Prepayment fee)

ประวัติข้อมูลเครดิต 

  • ไม่มีประวัติ

เทียบ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว ของ ธปท. กับ คลินิกแก้หนี้ แบบไหนดีกว่ากัน

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย