6ปัจจัยต้องติดตาม “สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน- เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ -สถานการณ์โควิด -การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย.และสหรัฐฯ -ผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน”
ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 11-15ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.40-34.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาสินค้านำเข้า/ส่งออกเดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนต.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อ 21-22 ก.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย. และผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในวันศุกร์ (8 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.85 เทียบกับระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (1 ต.ค.)
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.)มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,620 และ 1,600 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,675 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์โควิด ทิศทางเงินลงทุนจากต่างประเทศ และสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย. รวมถึงบันทึกการประชุมเฟด
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.ย.ของญี่ปุ่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน อาทิ ตัวเลขส่งออกและเงินเฟ้อ สำหรับ ดัชนี SET เมื่อวันที่ 8ต.ค. 2564 ปิดที่ระดับ 1,639.41 จุด เพิ่มขึ้น 2.13% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 91,842.36 ล้านบาท ลดลง 7.08% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 3.17% มาปิดที่ 560.62 จุด