ภารกิจ “ธรัฐพร เตชะกิจขจร” หมอหนี้นำ SAM เร่งช่วยลูกหนี้- รับมือเอ็นพีแอลลาม

02 ธ.ค. 2564 | 01:57 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ธ.ค. 2564 | 09:04 น.

SAMโฟกัสภารกิจ เร่งช่วยลูกหนี้ทั้ง “ปรับโครงสร้างหนี้ ขายเอ็นพีเอ บรรเทาความเดือดร้อนผ่านคลีนิกแก้หนี้ ส่งคืนทรัพย์กลับสู่ระบบ หนุนเศรษฐกิจโดยรวม

ด้วยภาระกิจรับโอนหนี้จากหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น “ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด(บสส.สุขุมวิท)หรือSAM” องค์กรที่เป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประเทศ  เมื่อปี 2543 ต่อมา SAMได้ยกระดับเป็นผู้รับซื้อหนี้เพื่อบริหารจัดการและสร้างรายได้เลี้ยงองค์กรจนสามารถนำส่งเงินคืนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF)แล้ว 2.55แสนล้านบาท

 

ปัจจุบันบริษัทบริหารสินทรัพย์ในตลาดมีจำนวน 62บริษัทแม้จะมีเพียง 5บริษัทที่ActiveและSAMอยู่ในอันดับ2ของ TOP5 ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด(มหาชน)หรือBAM ,SAM  ,บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด ,บริษัทบริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด และบริษัทบริหารสินทรัพย์ มหานคร จำกัด  

อย่างไรก็ตาม  สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มมองหาพันธมิตร โดยมีการพูดคุยในการขยายความร่วมมือกับ AMC ซึ่งในอนาคตจะเห็นการบริหารจัดการหนี้ในรูปแบบอื่น

ทั้งนี้    BAM คาดว่าจะทำ JV ( JV: Joint Venture)  3ฝ่าย คือ BAM  ธนาคาร และคนกลางโดยBAMถือหุ้นไม่เกิน 40%ซึ่ง BAMจะโอนหนี้ให้กับบริษัท JV รับซื้อในราคา Fair Value และจ้างBAMดูแลลูกหนี้

ขณะที่ค่าย JMT ตั้งตั้ง JV กับธนาคารกสิกรไทย โดยJMT จะรับโอนหนี้เสียออกจากธนาคารกสิกรไทยมาบริหารในลักษณะของการติดตามหนี้

ภารกิจ “ธรัฐพร เตชะกิจขจร” หมอหนี้นำ SAM เร่งช่วยลูกหนี้- รับมือเอ็นพีแอลลาม

          ต่อประเด็นดังกล่าว“ ธรัฐพร เตชะกิจขจร” กรรมการผู้จัดการ SAM  บอกถึงก้าวที่จะเดินต่อไปของSAM โดยระบุว่า  “ SAM อยู่ระหว่างพูดคุยกับสถาบันการเงินหลายรายเพื่อทำโมเดลธุรกิจร่วมทุน(JV)  ซึ่งเป็นโอกาสขยายธุรกิจ ทั้งขยายความร่วมมือกับแบงก์ในการบริหารหนี้เสีย และแบงก์ตัดขายหนี้ให้บริษัทร่วมทุน ซึ่งเรื่องความร่วมมือของAMCกับแบงก์น่าจะความชัดเจนในไตรมาสแรกปีหน้าก็จะช่วยลดช่องว่างระหว่างแบงก์กับเอเอ็มซี โดยที่แบงก์เองก็เปิดมากขึ้น และเราก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปทำในรูปแบบร่วมทุน  เพราะมองทิศทางเอ็นพีแอลยังคงมีต่อเนื่อง”

"ธรัฐพร" ระบุถึงผลการดำเนินงานเดือนตุลาคม 2564 สามารถเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้า NPL ไปแล้วจำนวน 54,899 ราย คิดเป็นมูลค่าตามบัญชี 341,448 ล้านบาท  โดย SAM มีนโยบายมุ่งเน้นให้มีการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกค้าNPLเป็นอันดับแรก โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นสำคัญรวมถึงร่วมปรึกษาหารือให้ได้ข้อยุติภายใต้แนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพสามารถกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ หรือดำเนินกิจการต่อไปได้

ที่ผ่านมา SAM จัดโครงการ “แบ่งเบาภาระลูกค้าในภาวะวิกฤตโควิดระบาด ระลอก 3 ” เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนพิเศษ รวมทั้งนำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริง  ปัจจุบัน SAM มีจำนวนลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการ รวมทั้งสิ้น 20,727 ราย มูลค่าตามบัญชี 354,320 ล้านบาท

 

ส่วนการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย NPA สามารถจำหน่ายได้ทั้งสิ้น 10,496 รายการ ราคาประเมินทรัพย์ 51,914 ล้านบาท โดยส่งเสริมให้เกิดการนำทรัพย์สินที่ทิ้งร้างมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อส่งคืนทรัพย์สินเหล่านี้กลับสู่ระบบ และนำมาซึ่งความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ผ่านการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย ทั้งการประมูลและการเสนอซื้อโดยตรง รวมทั้งโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่น่าสนใจอีกมากมาย ปัจจุบันNPAภายใต้การบริหารจัดการทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ที่ดินเปล่าและทรัพย์เพื่อการลงทุน ฯลฯ  รวมทั้งสิ้น ประมาณ 4,000 รายการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท

ด้านการประมูลซื้อสินทรัพย์เพื่อเพิ่มขนาดพอร์ต SAM สามารถซื้อสินทรัพย์ได้ จำนวนรวมทั้งสิ้น 16,569 ราย มูลค่าตามบัญชี 113,621 ล้านบาท ขณะที่คลินิกแก้หนี้ มีจำนวนลูกค้าที่ผ่านคุณสมบัติและสมัครเข้าโครงการได้รวมทั้งสิ้น  68,071 บัญชี คิดเป็นภาระหนี้เงินต้นตามสัญญา 5,163 ล้านบาท   ล่าสุด “คลินิกแก้หนี้ by SAM” ได้ขยายเกณฑ์คุณสมบัติผู้เป็นหนี้เสียที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นก่อนวันที่ 1ตุลาคม 2564 จากเดิมต้องมีสถานะNPL ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

ภารกิจ “ธรัฐพร เตชะกิจขจร” หมอหนี้นำ SAM เร่งช่วยลูกหนี้- รับมือเอ็นพีแอลลาม

รวมทั้งมาตรการอื่นๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าที่เป็นหนี้เสียบัตรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้แก่ 1. การต่ออายุมาตรการยาแรงระยะที่ 3 “จ่ายเท่าที่ไหว” ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1-2% (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โครงการกำหนด) 2. การปรับเกณฑ์ด้านอายุจากเดิมไม่เกิน 65 ปีเป็นอายุ 70 ปี โดยนับรวมระยะเวลาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว และมาตรการที่ 3.การปรับอัตราดอกเบี้ยจากเดิม 4-7% เป็นอัตราเดียว (Single Rate) ที่ 5%