ทิสโก้นำร่องโชว์กําไรปี 64 กว่า 6,781.47 ล้านบาท

14 ม.ค. 2565 | 06:28 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ม.ค. 2565 | 13:41 น.

ทิสโก้โชว์กำไรสิ้นปี64 กว่า 6,781.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% จากปี ก่อน อานิสงส์หลักจากธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนเพิ่มขึ้น 46.2%รายได้มิใช่ดอกเบี้ยขยายตัว 9.7% และสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ลดลง

บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) มีกําไรสุทธิจากผลการดําเนินงานเฉพาะกิจการในปั2564 จํานวน4,758.92 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากรายได้เงินปันผล แต่เนื่องจากบริษัททิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) และไม่มีการประกอบธุรกิจหลักอื่นใด

 

ดังนั้น ผลการดําเนินงานและฐานะการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ จึงเป็นงบการเงินรวมของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์และกลุ่มธุรกิจตลาดทุนผลการดําเนินงานรวมของบริษัทงวดปี2564

กําไรสุทธิสําหรับผลประกอบการงวดปี 2564 ของบริษัทมีจํานวน 6,781.47ล้านบาท เพิ่มขึ้น 717.99 ล้านบาท หรือ  11.8% จากปี 2563

 

สาเหตุหลักมาจากการเติบโตของธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะธุรกิจจัดการกองทุน การรับรู้กําไรจากเงินลงทุน และสํารองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่ลดลง โดยในปี 2564 บริษัทมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยขยายตัว 9.7% จากปีก่อนหน้า เป็นรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจจัดการกองทุนเพิ่มขึ้น 46.2% ซึ่งมาจากการออกกองทุนใหม่ที่ได้รับการตอบรับที่ดี ประกอบกับค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการ (Performance Fee) ที่รับรู้ในไตรมาส 4

ทิสโก้นำร่องโชว์กําไรปี 64 กว่า  6,781.47 ล้านบาท

 

อีกทั้ง รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 8.1% ตามปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังรับรู้กําไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกําไรหรือขาดทุน (FVTPL) ที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของ ค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลง ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงจากมาตรการปิดเมืองในระหว่างปีและผลจากการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การปรับลดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมของทางการ

สําหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 4.9% ตามการชะลอตัวของเงินให้สินเชื่อ ส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1.0% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย เป็นไปตามคุณภาพสินทรัพย์ที่สามารถควบคุมได้ดีภายใต้สถานการณ์การระบาดที่เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับบริษัทได้ตั้งสํารองเพื่อรองรับความเสี่ยงล่วงหน้าไปแล้ว ตามนโยบายการตั้งสํารองอย่างระมัดระวัง

 

ทั้งนี้ สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (NPLs) ลดลงมาอยู่ที่ 2.4% ของสินเชื่อ ส่งผลให้ระดับค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 236.7%

กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic earnings per share) สําหรับงวดปี2564 เท่ากับ 8.47 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 7.57บาทต่อหุ้นในปี 2563และอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 16.8%

สําหรับผลประกอบการของบริษัทงวดไตรมาส 4 ปี 2564 กําไรสุทธิในส่วนของบริษัทมีจํานวน 1,791.46 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 14.8%เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากการรับรู้ค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุน (Performance Fee) ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4

ในขณะเดียวกัน ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น จากธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่ฟื้นตัวหลังจากคลายล็อกดาวน์ ในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น0.5%จากต่นทุนทางการเงินที่ลดลง ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.8% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย โดยแมวาสินเชื่อที่ด้อยค่าทางเครดิต (NPLs) จะลดลง แต่บริษัทยังคงตั้งสํารองเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในช่วงสิ้นปี

 

เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2563 กําไรสุทธิขยายตัว 9.5% จากค่าธรรมเนียมตามผลประกอบการของธุรกิจจัดการกองทุน ในขณะที่ธุรกิจหลักอื่นๆ ชะลอตัว ทั้งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ตามการชะลอตัวของสินเชื่อ ค่าธรรมเนียมธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อที่ลดลงตามการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ของทางการ

ทิสโก้นำร่องโชว์กําไรปี 64 กว่า  6,781.47 ล้านบาท

รายได้ค่านายหน้าการซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมธุรกิจวาณิชธนกิจอ่อนตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า จากระดับสินเชื่อที่ด้อยค่าทางเครดิต (NPLs) ที่ลดลง

ทั้งนี้ บริษัทมีกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic earnings per share) สําหรับไตรมาส 4 ปี 2564 เท่ากับ 2.24 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจาก 2.04 บาทต่อหุ้นในไตรมาส 4 ปี 2563และจาก 1.95 บาทต่อหุ้นในไตรมาส 3 ปี 2564โดยมีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ ถือหุ้นเฉลี่ย (ROAE) สําหรับไตรมาสอยู่ที่ 17.8%

 

ค่าใช้จ่ายผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) มีจํานวน 2,059.93 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับจํานวน 3,330.60 ล้านบาทในปี 2563 และคิดเป็นอัตรา 1.0% ของยอดสินเชื่อเฉลี่ย เนื่องมาจากคุณภาพสินทรัพย์ที่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้สถานการณ์การระบาดที่เริ่มคลี่คลาย รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

แม้ว่าจะยังคงมีความเสี่ยงจากโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีแต่ยังอยู่ในกรอบของประมาณการความไม่เเน่นอน และระดับเงินสํารองที่มีอยู่เทียบกับคุณภาพสินทรัพย์ ยังคงอยู่ในระดับสูง บริษัทจึงลดระดับการตั้งสํารองลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเป็นไปตามคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ ทั้งนี้ บริษัทมีการตั้งสํารองล่วงหน้าไปแล้วอย่างเพียงพอ ด้วยระดับค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Coverage Ratio) อยู่ที่236.7%