บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจ่ายปันผล 12 กอง 390 ล้านบาท

21 ม.ค. 2565 | 09:49 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ม.ค. 2565 | 16:50 น.

บลจ.ไทยพาณิชย์ ประกาศจ่ายปันผล 12 กองหุ้นไทย-เทศ จ่าย 20 และ 24 ม.ค. นี้ มองบวกหุ้นโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะหุ้นไทย มีโอกาสฟื้นตัวนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมา ผลกระทบของ Covid-19 มีแนวโน้มลดลง

นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัดเปิดเผยว่า บริษัทฯได้จ่ายเงินปันผลกองทุนหุ้นไทยและหุ้นต่างประเทศ 12 กองทุน รวมมูลค่ากว่า 390 ล้านบาท โดยเป็นหุ้นไทย 11 กองทุน สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2564 โดยจ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนพร้อมกันเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา ได้แก่

นายอาชวิณ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด บลจ.  ไทยพาณิชย์ จำกัด

 

  • SCBLT1 (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 28) รวมจ่ายปันผลแล้ว 6.3850 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 21 ต.ค. 2547)
  • SCBLT1-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.20 บาทต่อหน่วย
  • SCBLT1-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.70 บาทต่อหน่วย 

 

“ทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี 70% และตราสารหนี้คุณภาพ 30%” นายอาชวินกล่าว

  • SCBLT2-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.45 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 3) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.4250 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 21 ต.ค. 2547) กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ, 
  • SCBLT3-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.25 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 3) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.09 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 12 ต.ค. 2548) กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง

 

 

  • SCBLT4 (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 19) รวมจ่ายปันผลแล้ว 3.92 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 27 มิ.ย. 2550)
  • SCBLT4-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 2.10 บาทต่อหน่วย
  • SCBLT4-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.10 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.45 บาทต่อหน่วย

ทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง และหุ้นต่างประเทศไม่เกิน 35%

  • SCBLTT (ชนิดหุ้นระยะยาว) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 22) รวมจ่ายปันผลแล้ว 5.39 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 27 มิ.ย. 2550)
  • SCBLTT-2020 (ชนิดปี 2020) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 1.20 บาทต่อหน่วย
  •  SCBLTT-SSF (ชนิดเพื่อการออม) จ่ายในอัตรา 0.20 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 2) รวมจ่ายปันผลแล้ว 0.70 บาทต่อหน่วย

 

ทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง และหุ้นที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ

 

ส่วนกองทุนต่างประเทศ 1 กองทุนเป็นประเภทกองทุนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ต.ค. –  31 ธ.ค. 2564 กำหนดจ่ายให้กับผู้ถือหน่วยในวันที่ 24 ม.ค. 2565 ได้แก่ SCBGPROP จ่ายในอัตรา 0.3709 บาทต่อหน่วย (ครั้งที่ 12 ) รวมจ่ายปันผลแล้ว 2.1614 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อ 4 ต.ค. 2559)

 

ทั้งนี้ SCBGPROP เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ BGF World Real Estate Securities (กองทุนหลัก) ภายใต้การบริหารจัดการของ BlackRock Investment Management (UK) Limited โดยกองทุนหลักเน้นลงทุนใน REIT ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มีสัดส่วนในสหรัฐฯ และในยุโรป

 

นายอาชวิณกล่าวต่อว่า ภาพรวมตลาดในปี 2565 แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะเผชิญแรงขายจากนักลงทุน ซึ่งเกิดจากความกังวลในเรื่องการชะลอการทำ QE Tapering และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติได้เทขายหุ้นไทยไปแล้ว 3.1 แสนล้านบาท ดังนั้นผลกระทบจาก QE Tapering จะมีอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

 

ประกอบกับตลาดหุ้นไทยมี โอกาสฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาและผลกระทบของ Covid-19 มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่คาดว่าจะมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดอาจมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาจากการที่นักลงทุนอาจมีการขายหุ้นทำกำไรในภูมิภาคที่มีการปรับตัวขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันตลาดหุ้นไทยช่วงปี 2565 จะมาจากการกลายพันธุ์ของ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อาจทำให้วัคซีนที่ประชาชนได้รับมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีน และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

 

สำหรับกลุ่มสินทรัพย์ REIT นั้นยังคงได้รับผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรป ที่มีการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจดีขึ้น โดยจากข้อมูลในอดีต ค่าเช่าสินทรัพย์สามารถให้ผลตอบแทนที่เหนือกว่าอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะยาวได้