ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนอาจได้ยินคำว่า Stagflation มาไม่มากก็น้อย แต่อาจจะยังมีคำถามว่า จริงๆแล้ว Stagflation คือภาวะอะไร? และส่งผลกระทบอย่างไรกับการลงทุน? บทความนี้ SCBAM จะมาช่วยขยายความและแนะนำกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจแบบง่ายๆ
Stagflation คือ การที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและภาวะอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูง เป็นคำที่รวมตัวระหว่างคำว่า Stagnant หมายถึง เศรษฐกิจชะลอตัว และ Inflation ที่หมายถึงเงินเฟ้อ เรียกได้ว่า เป็นภาวะข้าวยากหมากแพง แต่รายได้ของผู้คนนั้นกลับลดลง ซ้ำร้ายยังเป็นช่วงที่ธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อที่จะยับยั้งเงินเฟ้อไว้ให้ได้
ดังนั้นการลงทุนในช่วง Stagflation นักลงทุนต้องเพิ่มความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น และควรกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์ โดยเฉพาะสินทรัพย์ประเภท Real Asset ที่ให้ผลตอบแทนแท้จริง (Real Return; Nominal Return minus Inflation) เป็นบวก หรือพูดง่ายๆว่า ให้ผลตอบแทนที่ชนะเงินเฟ้อ
ย้อนไปช่วงทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะ Stagflation อย่างยาวนานโดยมีสาเหตุตั้งต้นมาจาก
ทั้ง 3 สาเหตุข้างต้นส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงและเคยแตะระดับสูงถึง 13.5% ในช่วงปี 1980 จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องรีบดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด
โดยเฉพาะในช่วงการดำรงตำแหน่งประธาน Fed ของนาย Paul Volker ที่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 5% ในปี 1977 ขึ้นมาแตะระดับสูงสุดที่ 18% ในปี 1980 แม้ว่า Fed จะสามารถปราบเงินเฟ้อได้อย่างราบคาบ โดยอัตราเงินเฟ้อลงมาต่ำกว่า 3% ในปี 1983 แต่สิ่งที่แลกมาคือ เศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะ Recession ถึง 2 ครั้งในช่วงเวลาดังกล่าว
ปัจจุบันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation เริ่มสูงขึ้น หลังตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง จากมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่เริ่มแผ่ว ประกอบกับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี จากอุปสงค์ที่อั้นมาตั้งแต่ช่วงที่ยังมีมาตรการ Lockdown (Pent-Up Demand) และปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกที่ยังคงอยู่ในภาวะชะงักงัน (Supply-Chain Disruption)
แถมล่าสุดปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้ซ้ำเติมปัญหาด้านอุปทานให้เกิดภาวะขาดแคลนมากยิ่งขึ้น และดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทุกประเภท โดยเฉพาะราคาพลังงาน พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับที่น่ากังวล
ภาพในอดีตเหมือนจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง ธนาคารกลางทั่วโลกไม่มีทางเลือกอื่น ต้องเปลี่ยนมาดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นเพื่อยับยั้งเงินเฟ้อให้ได้ แม้จะต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 0.25% และปรับคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย(Dot Plot) ขึ้นจากเดิม 3 ครั้งในปีนี้เป็น 7 ครั้ง ขึ้นสู่ระดับ 1.75%-2.00% และจะปรับขึ้นอีก 3 ครั้งในปีหน้า สู่ระดับ 2.50%-2.75% พร้อมส่งสัญญาณลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening)เดือนละ 9.5 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มเดือน พ.ค.นี้
จากข้อมูลในอดีตชี้ว่า ภาวะ Stagflation เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายอย่างมากในการลงทุน และเป็นช่วงเวลาที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยน Playbook ในการลงทุนเล่มเดิมที่เน้นลงทุนเพียงแค่ 2 สินทรัพย์อย่างหุ้นกับตราสารหนี้ ไปสู่ Playbook เล่มใหม่ที่มีการกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์มากขึ้น และพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงแต่การเติบโตต่ำ
SCBAM แนะนำให้นักลงทุนกระจายลงทุนใน 3 สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนแท้จริง(Real Return)เป็นบวก ดังนี้