ลงทุนพันธออมทรัพย์ของกระทรวงคลังดีไหม ส่องสถิติอัตราผลตอบแทนพันธบัตรออมทรัพย์ ย้อนหลัง 4 ปี ( 2562-2565 ) หลังดอกเบี้ยทะยานขึ้น นับตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% เมื่อต้นเดือน พ.ค.65 และจ่อเร่งปรับขึ้นแรงในเดือนมิ.ย. - ก.ค. นี้
โดยในวันที่13 มิ.ย.2565 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) จะเริ่มจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ รุ่น “ออมเพิ่มสุข” วงเงิน 55,000 ล้านบาท ให้กับประชาชน 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 2.90% ต่อปี ( หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะได้รับผลตอบแทนสุทธิ 2.465% ) และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเฉลี่ย 3.60% ต่อปี ( หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะได้รับผลตอบแทนสุทธิ 3.06%) จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน
ซึ่งเมื่อเทียบสถิติย้อนหลัง 4 ปี ต้องถือว่ารอบนี้ กระทรวงคลังจ่ายอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์สูงกว่าทุกครั้ง จากรุ่น 5 ปี ที่เคยจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 2.50% ( หักภาษี ณ ที่จ่าย15%ได้รับผลตอบแทนสุทธิ 2.125%) และรุ่นอายุ 10 ปี จ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 3.05% (หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%ได้รับผลตอบแทนสุทธิ 2.60%) อ่านตารางประกอบ
พันธบัตรออมทรัพย์ "ออมเพิ่มสุข" น่าลงทุนไหม
การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ มีทั้งจุดเด่น และความเสี่ยง ซึ่งนักลงทุนควรรู้ก่อนการลงทุน
จุดเด่นของพันธบัตร
คลิกอ่านเพิ่ม : ส่อง 5 อันดับเงินฝากปลอดภาษี2565 แบงก์ไหนให้ผลตอบแทนดีสุด
ความเสี่ยงของพันธบัตร
สำหรับเงื่อนไขรายละเอียด พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น “ออมเพิ่มสุข" วงเงิน 55,000 ล้านบาทมีดังนี้
แบ่งการจำหน่าย เป็น 2 รุ่น คือ
-รุ่นออมเพิ่มสุข บนวอลเล็ต สบม. วงเงิน 10,000 ล้านบาท ให้แก่ประชาชน 2 รุ่น ได้แก่
- รุ่นออมเพิ่มสุข วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท จำหน่ายให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร แบ่งการจำหน่ายเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 (15-19 มิ.ย.65) วงเงิน 40,000 ล้านบาท เปิดจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยซื้อได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท จำหน่าย 2 รุ่น ได้แก่
ช่วงที่ 2 (20-30 มิ.ย.65) จำหน่ายให้แก่ประชาชนและนิติบุคคลไม่แสวงหากำไรตามที่กระทรวงการคลังกำหนด แบบไม่จำกัดวงเงินการซื้อ โดยจำหน่ายให้ประชาชนในวงเงินคงเหลือจากช่วงที่ 1 ด้วยรุ่นอายุและเงื่อนไขเดียวกัน และสำหรับนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร วงเงิน 5,000 ล้านบาท รุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 3.30 ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
ซึ่งในรอบการจำหน่ายนี้ ได้เพิ่มนิติบุคคลอาคารชุด และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้มีสิทธิ์ซื้อด้วย โดยจะพิจารณาการเป็นผู้มีสิทธิ์ซื้อจากข้อบังคับนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมที่ดินหรือสำนักงานเขต และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ วงเงินที่จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม. และธนาคารตัวแทนจำหน่ายไม่นับรวมกัน ผู้ลงทุนจึงสามารถลงทุนได้ทั้ง 2 ช่องทาง และกระทรวงการคลังสามารถปรับเพิ่ม/ลดวงเงินทั้ง 2 รุ่นที่จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ตามความเหมาะสม
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขและวิธีการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านช่องทางต่างๆ ได้จากธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง