ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานสัมมนา "สร้างภูมิคุ้มกันประเทศไทย" ในโอกาสที่สำนักข่าวไทยพับลิก้าก้าวสู่ปีที่ 12 โดยระบุว่า ระยะหลังประเทศไทยและโลกเผชิญ Shockที่ไม่คาดคิดหลากหลายประเภท
โดยเฉพาะเมืองไทย ก่อนจะเกิดการระบาดของโควิด-19 นั้น ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)อยู่ที่ 3% แต่หลังเผชิญกับโควิด-19 จีดีพีติดลบ 6.1% ถัดมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้ส่งผลอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงาน
ขณะที่แนวโน้มShockด้านภูมิรัฐศาวตร์มีโอกาสจะสูงขึ้น จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันหรือกันชนรองรับ Shockต่างๆที่จะเกิดขึ้น เช่นเดียวกันในแง่เศรษฐกิจไทยการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 5ด้าน ได้แก่
1.เสถียรภาพด้านต่างประเทศ ปัจจุบันภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงมากนัก ขณะที่ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศแข็งแกร่งสูงกว่าภาระหนี้ต่างประเทศ 2-3เท่า เช่นเดียวกับเงินเงินทุนเคลื่อนย้าย ที่ไม่น่าห่วงเพราะตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันยังมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิประมาณ 5,000ล้านบาท
2.เสถียภาพด้านการคลัง ที่ผ่านมาสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิมอยู่ที่ 46% แต่ความจำเป็นในการดำเนินนโยบายด้านการคลังเป็นแนวทางเดียวกับต่างประเทศ โดยเฉพาะการเผชิญกับโควิด-19 แต่การอัดฉีดมาตรการภาครัฐทำให้เศรษฐกิจไทยติดลบ 6.1% ในปีก่อนหน้า
แต่หากไม่มีมาตรการด้านการคลังอัดฉีดจีดีพีไทยอาจจะติบลบถึง 9% หรือปีที่ผ่านมาจีดีพีอาจติดลบ 4%จากประมาณการเดิมจะเติบโต 1.5% ถ้าไม่มีมาตรการรัฐหรือมาตรการด้านการคลังเข้ามาช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นความจำเป็นต้องใช้มาตรการการคลังแม้ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้น แต่เสถียรภาพด้านการคลังไม่ได้เป็นปัญหา เห็นได้จากอัตราผลตอบแทนบัตรรัฐบาลอายุ 10ปีอยู่ที่ 2.8% ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหากเสียเสถียรภาพดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวจะสูงกว่านี้
3.เสถียรภาพด้านการเงิน หากพิจารณาจากเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ไม่ว่ามิติ เรื่องเงินทุนสำรอง , สภาพคล่อง, กันสำรองหนี้ต่อเอ็นพีแลยังอยู่ในระดับสูง แต่ยอมรับว่าบางเซ็กเตอร์อ่อนแอ โดยเฉพาะภาคครัวเรือน เห็นได้จากตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มมานานแล้วและเร่งขึ้นในช่วงโควิด-19 และปีนี้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงที่ 90%ของจีดีพี แต่ภาพรวมงบดุลภาคธุรกิจหรือรายใหญ่ยังแข็งแรงภาระหนี้ค่อนข้างต่ำ
4.เสถียรภาพด้านราคา หรือ “อัตราเงินเฟ้อ” ธปท.ไม่อยากเห็นอัตราเงินเฟ้อสูงหรือผันผวน แต่ล่าสุดธปท.ได้ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เป็น 6.2% จากเดิม4.9% โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับสูงสุดในไตรมาส3ของปีนี้ก่อนจะทยอยปรับลดกลับสู่กรอบเป้าหมายในปี2566
ผู้ว่าธปท.กล่าวว่า ล่าสุดสเตตเม้นของกนง.ต้องชั่งน้ำหนักความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นโจทย์ด้านนโยบายการเงินที่ยังคงต้องทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง(Take off) อาจจะไม่เร็ว แต่ถ้าไม่ได้ดูแลเรื่องเงินเฟ้อโอกาสทำให้การฟื้นตัวอาจสะดุด ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องปรับโหมดเข้าสู่ใกล้เคียงภาวะปกติมากขึ้น ทั้งสร้างภูมิคุ้มกัน/กันชนไว้รองรับช็อคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ประกอบการเริ่มเห็นการส่งสัญญาณการส่งผ่านเงินเฟ้อในวงกว้างขึ้น
“ เงินเฟ้อสำคัญ 2 เหตุผล คือ เศรษฐกิจไทยพึ่งกลไกตลาด ต้องดูเรื่องราคาไม่ให้ผันผวนหรือมีโอกาสผิดเพี้ยนและธปท.ใส่ใจเรื่องปากท้องเรื่องความเป็นอยู่ของคนโดยรวม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะถูกกระทบมากที่สุด เห็นได้จากปลายปีก่อนดอกเบี้ยเงินกู้ภาคธุรกิจอยู่ที่ 0.2%(คำนวณจากต้นทุนกู้ 1.4% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 1.2%) แต่ตอนนี้ดอกเบี้ยการกู้ยืมเพิ่ม 4.9%หรือเกือบ 5%(คำนวณจากต้นทุนเงินกู้ที่ 1.3% อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ 6.2%) ดังนั้น แม้การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะกระทบต้นทุนธุรกิจและครัวเรือนบ้างแต่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มกลับส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นประมาณ 7เท่า สิ่งที่แย่สุดสำหรับครับเรือนที่มีรายได้น้อยหลัก เพราะครัวเรือนจะบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม พลังงานเป็นหมวดที่เงินเฟ้อสูงที่สุด”
ผู้ว่ากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ธนาคารกลางมีหน้าที่หลักในการทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อระยะกลางไม่หลุด หรือต้องไม่ทำให้เครื่องยนต์หลักของเงินเฟ้อติดหรือส่งผลให้เงินฟื้อพื้นฐานสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันเงินเฟ้อพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นมีนัยโดยปีนี้น่าจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2%จากปีก่อนอยู่ที่ 0.2%
แต่ในบริบทของไทยการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนั้นไม่ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามเฟด แต่โดยรวมการปรับขึ้นดอกเบึ้ยนโยบายช้าเกินไปไม่ดี เพราะโอกาสต้องขึ้นมากขึ้นจะตามมา ฉะนั้นแนวทางปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ช้าเกินไปเพื่อไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงเกินไป
5.กลไกหรือกระบวนการทำนโยบายที่ดี และมั่นใจว่านโยบายที่ออกมานั้นเหมาะและสร้างสมดุลกับบริบทต่างๆที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งองค์ประกอบการดำเนินนโยบายที่ดี ได้แก่ 1. กระบวนการถูกขับเคลื่อนโดยข้อมูลและประเมินผลภายหลังออกนโยบายแล้ว
2.นโยบายต้องถูกต้องมากกว่าถูกใจ เพราะเป็นการทำเพื่อส่วนรวมหรือภาพรวม ไม่ใช่ดูเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และ 3.นโยบายต้องมีความโปร่งใส่ ที่มาของนโยบายชัดเจนและสามารถอธิบายได้เพื่อผลลัพธ์ที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศเป็นหลัก