ทำไม ธนาคารกลางนานาประเทศต้องประกาศทำสงครามกับเงินเฟ้อ

27 มิ.ย. 2565 | 00:57 น.
อัปเดตล่าสุด :27 มิ.ย. 2565 | 08:05 น.

เปิดมุมมอง"ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล" ประธาน FETCO ถึงเหตุผลความจำเป็นที่ธนาคารกลางนานาประเทศ ต้องทำสงครามต่อสู้กับเงินเฟ้อ พร้อมรายชื่อ 12 ประเทศที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งเกินระดับ 30%

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก ถึงเหตุผลทำไมธนาคารกลางนานาประเทศ ต้องประกาศทำสงครามกับเงินเฟ้อ แม้อาจทำให้เศรษฐกิจชะลอ เกิด Recession ก็ตาม

 

เนื้อหาดังนี้ 

 

ช่วงนี้เงินเฟ้อในประเทศต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น
อังกฤษ 9.1%
สหรัฐ 8.6%
เยอรมัน 7.9%
ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 กว่าปี

 

ทำให้ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ต้องออกมาประกาศสงครามกับเงินเฟ้อ
และบอกว่า ยังไงก็จะต้องเอาเงินเฟ้อกลับลงระดับปกติให้ได้
แม้จะหมายถึง เศรษฐกิจที่อาจชะลอลงและเกิด Recession ก็ตาม 


หลายคนถามว่า ทำไมต้องสู้กันถึงขนาดนี้ 
วันนี้ ก็เลยขอนำข้อมูลมาฝากให้ดูว่า
เวลาที่ธนาคารกลาง "สอบตกในการควบคุมเงินเฟ้อ"
เงินเฟ้อที่ว่าสูงได้นั้น สูงได้แค่ไหน

 

ในตาราง จะเห็นรายชื่อ 12 ประเทศที่เผชิญปัญหาเงินเฟ้อสูงสุดขณะนี้ 
ตั้งแต่ประมาณ 30% ขึ้นไป
บางชื่อ คือ ประเทศที่เรารู้จักกันดี เช่น                                         

 

เลบานอน 211%
เวเนซูเอล่า 167%
ตุรกี 73.5%
อาร์เจนตินา 60.7%
อิหร่าน 39.3%
ศรีลังกา 39.1%
เอธิโอเปีย 37.7%

 

ทำไม ธนาคารกลางนานาประเทศต้องประกาศทำสงครามกับเงินเฟ้อ

 

สำหรับประเทศที่เงินเฟ้อสูงขนาดนี้ คนลำบากก็คือ ประชาชนที่ต้องรับภาระราคาสินค้าที่เพิ่มสูงตลอดเวลา ต่อให้เศรษฐกิจยังโต แต่เงินได้ของทุกคนก็จะถูกกัดกร่อนจากเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น เงินเดือนที่มี พอถึงปลายปี จะซื้อของได้ลดลง 

 

กรณีเลบานอน จะซื้อของได้ไม่ถึงครึ่งของที่เคยซื้อได้ในช่วงต้นปี !!!            นี่คือ ฝันร้ายที่เหล่าธนาคารกลางไม่ต้องการให้เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก Trading Economic ครับ

 

ที่มา :  เฟซบุ๊ก Kobsak Pootrakool