นายบรรณรงค์ พิชญากร กรรมการผู้จัดการอาวุโส กิจการค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ หลักทรัพย์บัวหลวงเปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จอย่างดีจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (DR) ตราสารที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายหุ้นหรือ ETF ในต่างประเทศได้ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ปัจจุบันเสนอขายไปแล้ว 4 หลักทรัพย์ คือ E1VFVN3001, FUEVFVND01, NDX01 และ STAR5001
ทุกหลักทรัพย์ได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นอย่างดี สะท้อนผ่านมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ E1VFVN3001 ที่เป็น DR ตัวแรกของตลาดหุ้นไทยที่มีมูลค่า 5,800 ล้านบาท เติบโตจากช่วง IPO ปลายปี 2561 ที่มีมูลค่า 600 ล้านบาท
บริษัทจึงต่อยอดความสำเร็จ ด้วยการเปิดตัว 2 DR น้องใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนได้ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ของจีน และหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำของจีนและฮ่องกงที่มีแนวโน้มขยายตัวไปพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบด้วย
ทั้งนี้ DR “CN01” เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนเติบโตไปกับเศรษฐกิจจีนที่มีมูลค่า GDP ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา สะท้อนจากตัวเลข GDP ในช่วง ปี 2554-2564 ที่เติบโตเฉลี่ยราว 7% ต่อปี และมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกในอนาคต
หุ้นในดัชนี Hang Seng TECH ส่วนใหญ่เป็นหุ้นเทคโนโลยีที่เติบโตไปกับธีม New Economy ซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับสากล เช่น
หุ้นในดัชนี Hang Seng TECH ส่วนใหญ่เป็นบริษัทจีนที่มาจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ทำให้สัดส่วนกว่า 85% ของบริษัทที่อยู่ในดัชนีมีรายได้มาจากจีนเป็นหลัก ทำให้สามารถวิเคราะห์และติดตามความเป็นไปของเศรษฐกิจจีนโดยรวมได้
สำหรับ DR “CN01” และ DR "CNTECH01” จะเปิดให้ลูกค้าหลักทรัพย์บัวหลวงจองซื้อ IPO ผ่านเว็บไซต์หลักทรัพย์บัวหลวง ตั้งแต่วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2565 ซึ่งหลังเสนอขาย DR 2 ตัวใหม่ บริษัทจะมี DR ที่ลงทุนในหุ้นจีน 3 หลักทรัพย์ ซึ่งมีธีมการลงทุนที่แตกต่างกันชัดเจน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า DR ทั้ง 3 หลักทรัพย์สามารถเลือกลงทุนได้ในมุมที่แตกต่างกัน เช่น
นายรัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายหลักทรัพย์ต่างประเทศและฟิวเจอร์ส หลักทรัพย์บัวหลวงกล่าวเสริมว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงเริ่มฟื้นตัวจากปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพราะเศรษฐกิจจีนเพิ่งผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 และคาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายสวนทางกับธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังต่ำระดับ 2-3% เมื่อเทียบประเทศสหรัฐอเมริกาและไทยที่อยู่ระดับ 8% และ 7% ตามลำดับ
นอกจากนั้น การจัดระเบียบหุ้นเทคโนโลยีของทางการจีนเริ่มมีสัญญาณที่ดี หลังจากที่เมื่อเดือนมีนาคม “หลิว เหอ” รองนายกรัฐมนตรีจีน ประกาศว่า จะดำเนินการจัดระเบียบให้มีความโปร่งใสมากขึ้น พร้อมสร้างเสถียรภาพหุ้นจีนในระยะกลาง หนุนให้หุ้นจีนปรับตัวขึ้น
ขณะที่ Ant Group บริษัทด้านการเงินยักษ์ใหญ่ของจีนก่อตั้งโดย “แจ๊ค หม่า” มหาเศรษฐีชาวจีนที่เป็นจุดเริ่มต้นของการออกมาจัดระเบียบหุ้นเทคโนโลยีได้ยื่นเอกสารถึงทางการจีนเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า กำลังจะผันตัวเองไปสู่การเป็นบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินและเตรียมเสนอขายหุ้น IPO ซึ่งหากทำได้จะเป็น Sentiment ที่ดี หนุนตลาดหุ้นจีนและหุ้นเทคโนโลยีของจีน
“ปัจจุบันดัชนี CSI 300 มี Forward P/E ปี 2565 ราว 14 เท่า หากเทียบกับดัชนี S&P 500 ที่เป็นตัวแทนหุ้นขนาดใหญ่ของฝั่งสหรัฐฯพบว่าอยู่ที่ 17 เท่า แต่อัตราการเติบโตกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ในปี 2565 ของ CSI 300 อยู่ที่ราว 17% ส่วน S&P 500 อยู่ที่ราว 18% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน ทำให้หากคิดเป็น PEG ดัชนี CSI 300 จะดูน่าสนใจกว่า"นายรัฐศรัณย์ กล่าว
ขณะที่ดัชนี Hang Seng TECH มี Forward P/E ปี 2565 ที่ราว 32 เท่า และมี EPS Growth ราว 45% ซึ่งหากคิดเป็น PEG จะอยู่ที่เพียง 0.7 เท่า ถูกกว่าดัชนี NASDAQ ของสหรัฐฯ เช่นกัน ทั้งนี้ถึงแม้ว่า การลงทุนในหุ้นจีนอาจจะมี ความเสี่ยงด้านนโยบายภาครัฐ แต่มูลค่าของตลาดหุ้นจีนถือว่าปรับลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจแล้ว