ท่ามกลางการเดินหน้าปรับกลยุทธ์ธุรกิจธนาคารดั้งเดิมให้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีหรือการลงทุนด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่สะดวก รวดเร็วและตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดธนาคาร กรุงศรีอยุธยา โดยบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด บริษัทร่วมลงทุน (CVC) ในเครือกรุงศรี ซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพด้านฟินเทคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านการธนาคารทั้งในประเทศและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉลียงใต้ มาฉายภาพรวมธุรกิจร่วมลงทุน หลังการระบาดของโควิด-19
นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัดเปิดเผยว่า ธุรกิจร่วมลงทุน (กองทุน Venture Capital: VC) ทั่วโลก เปลี่ยนมุมมองการลงทุนในสตาร์ตอัพ จากปัจจัยเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ VC เน้นลงทุนในสตาร์ตอัพที่มีแผนกำไรที่ชัดเจน โดยไม่เน้นอัตราของการเผาเงินทุน (ฺBurn Rate) มากๆ เพื่อสร้างส่วนแบ่งการตลาด
โดยเฉพาะการคำนวณมูลค่า(Valuation)ของสตาร์ตอัพใหม่ ในธุรกิจ VC ซึ่งส่งผลให้มูลค่าที่คำนวณใหม่ถูกปรับลง โดยริ่มเห็นสตาร์ตอัพที่มีตัวเลขตั้งแต่ 200-300 ล้านบาทหรือไซซ์ใหญ่จะถูดลดมูลค่า ทำให้ราคาถูกลง แต่สตาร์ตอัพต้องการ Valuation เท่าเดิม จึงทำให้แนวโน้มโอกาสจบดีลใหม่ๆ ไม่มากเท่าสมัยก่อน
สำหรับกรุงศรี ฟินโนเวตยังคงเดินหน้านโยบายการลงทุนต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มการพิจารณาในรายละเอียดมากขึ้นและเน้นลงทุนในสตาร์ตอัพรายเล็กที่เพิ่งเริ่มต้น(Early Stage) ที่มีแผนกำไรที่ชัดเจน แต่สตาร์ตอัพกลุ่ม Series A ก็มีน้อยลง เพราะในกลุ่ม Series A ขึ้นไป ไม่ว่า B หรือ C ทุกคนแย่งลงทุนหมด เนื่องจากมีความแข็งแรงแล้ว
“สิ่งที่เมืองไทยยังหาอยู่คือ สตาร์ตอัพก่อนซีรีย์ A ซึ่งยังมีน้อย เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้ ทั้งสร้างและลงทุนด้านที่เราเชี่ยวชาญ เช่น ฟินเทค, อีคอมเมิร์ส เทคและ ออโตโมทีฟ เทคและหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยจัดตั้งเป็นกองทุนที่ 2 ระดมทุนใหม่จากภายนอกราว 1,000 ล้านบาทในปี 2566 และเป็นตัวต่อที่เราจะลงทุนระยะยาว”นายแซมกล่าว
สำหรับปีนี้คณะกรรมการการลงทุนของบริษัทได้อนุมัติการลงทุนแล้ว ทั้งลงทุนในไทย เวียดนาม และ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งปัจจุบันกำลังตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน(Due Diligence) คาดว่า เกินกว่าครึ่งจะได้รับการลงทุนหรืออย่างน้อยปีนี้น่าจะจบ 12 กิจการ โดยตั้งเป้าลงทุน 1,000 ล้านบาท หากรวมกับกองทุนเก่ากว่า 3,000 ล้านบาท งบลงทุนปีนี้จะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท
ส่วนกองทุน “Finnoverse” ที่เปิดตัวเดือนที่ผ่านมา วงเงิน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้แผนลงทุน 3 ปี(65-68) หรือลงทุนปีละ 10 ดอลลาร์ โดย FINNOVERSE แบ่งลงทุนเป็น 5 กลุ่มคือ
“เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดหรือไม่ แต่เทรนด์และดีมานด์ในไทยมีมูลค่าธุรกรรมลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลติดอันดับโลก ซึ่งเราพร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพคนไทยเป็นอันดับแรก ก่อนจะไปหาในต่างประเทศ”
ทั้งนี้ทิศทางอนาคตของแบงก์กรุงศรีฯ จะไป BBB หรือ “BlockChain Base Banking” จากตอนนี้มุ่งเป็น Digital Banking ต่อไปในแง่ระบบการจัดการภายในธนาคารจะต้องมีเทคโนโลยีบลอคเชนเข้ามาหลังบ้าน เพื่อให้ทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าใช้บล็อคเชนในการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลต้องไปคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะปัจจุบันธปท.ยังไม่อนุญาต
ส่วนมุมมองต่อสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น มั่นใจว่า แนวโน้มสินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตลงทุน อย่างน้อยไม่ควรเกิน 10% โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าไพรเวท แบงก์กิ้ง หรือกลุ่มไฮเน็ตเวิร์ก (HNW) ซึ่งวันนี้ลูกค้าจะนำเงินออกจากธนาคาร เพื่อไปลงทุนเอง ดังนั้นเมื่อธปท.อนุญาต เราจะให้บริการสินเทรัพย์ดิจิทัล แต่ต้องอยู่ในตลาดและจังหวะที่เหมาะสม
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,802 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565