24 กรกฎาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการแก้ "หนี้ครัวเรือน" ของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องในกลุ่มลูกหนี้ กยศ. ข้าราชการครูและตำรวจที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ซึ่งมีความคืบหน้าและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับในส่วนของลูกหนี้อื่นๆที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมบังคับคดีได้ขับเคลื่อนเรื่องการเจรจาแก้หนี้และประนอมหนี้ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังได้เป็นตัวกลางออกมาตรการ "รวมหนี้" สนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance) ตั้งแต่กันยายน 2564
อย่างไรก็ตามยังพบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีหรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
ทั้งนี้การรีไฟแนนซ์ ก็คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกหนี้ คือ
สำหรับการรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก คือ
ขณะนี้ มี 14 ธนาคารที่สามารถยื่นขอรวมหนี้ภายในธนาคารหรือต่างธนาคารได้แล้ว คือ กรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกร เกียรตินาคิน ซีไอเอ็มบีไทย ทหารไทยธนชาติ ทิสโก้ ไทยพาณิชย์ ยูโอบี แลนด์แอนเฮ้าส์ ไอซีบีซี ออมสิน และอิสลามแห่งประเทศไทย ส่วนที่อยู่ในขั้นดำเนินการ คือ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย
ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้ คือ
“รัฐบาลขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการให้ลุล่วงเพียงฝ่ายเดียวได้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง ถือเป็นแรงหนุนสำคัญที่จะทำให้หนี้ภาคประชาชนคลี่คลาย ในส่วนของรัฐบาลก็ได้เร่งแก้ไขในหลายมิติทั้งเรื่องช่วยเหลือลูกหนี้กยศ. ลูกหนี้สหกรณ์ครู
รวมถึงการเสนอร่างกฎหมายต่างๆที่จะอำนวยความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ อาทิ การเช่าซื้อรถยนต์ การแก้กฎหมายประกันสังคมเพื่อให้ผู้ประกันตนนำเงินสะสมบางส่วนมาใช้ในยามประสบปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งเรื่องนี้คงต้องขอให้ทางสภาผู้แทนราษฏรเร่งพิจารณาโดยด่วนเพื่อประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก” นางสาวรัชดาฯ กล่าว
คลิกอ่านเพิ่มเติม : มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้