บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)เอเซียพลัส ( ASPS ) ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ ( 22 กันยายน ) ว่า จากกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติปรับอัตราดอกเบี้ย 0.75% ตามตลาดคาด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐ ปรับขึ้นจาก 2.25-2.50% เป็น 3.00-3.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยยังอยู่ที่ 0.75% ส่งผลให้ Spread อัตราดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐ-ไทย ห่างมากขึ้นถึง 2.5% กว้างสุดนับตั้งแต่วิกฤตซับไพร์ม
การประชุมในครั้งนี้ Fed ได้ส่งสัญญาณว่าในปลายปี 2565 จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 4.40% (ตัวเลข Dot-Plot) ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 3.4% ในเดือน มิ.ย. ขณะที่นักวิเคราะห์ก็ต่างคาดว่า Fed จะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่อัตราเร่งอาจจะชะลอลง โดยเมื่อดูจาก Fed Watch Tool จะเห็นได้ว่า มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.65 และ ธ.ค.65 ครั้งละ 0.75% และ 0.50% ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยปลายปีของสหรัฐจะอยู่ที่ 4.50% (ภาพประกอบ"ไทม์ไลน์การขึ้นดอกเบี้ยเฟด" )
อย่างไรก็ตาม Fed ยังมุ่งมั่นที่จะลดอัตราเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ที่เป้าหมาย 2% ทำให้ทาง Fed มองว่าในปี 2566 จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง +4.6%
นอกจากนี้ Fed ยังได้คาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่สำคัญ อาทิ
การขึ้นดอกเบี้ยของ FED รอบนี้ ยังกดดันตลาดหุ้นไทยผันผวน กดดันให้ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐกว้างขึ้น ล่าสุดดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าสหรัฐ -2.5% (ดอกเบี้ยไทย 0.75% สหรัฐ 3.25%) และจาก Dot Plot ปลายปีดอกเบี้ยสหรัฐมีโอกาสขึ้นมาอยู่ที่ 4.5% และภายใต้ถ้ากนง.ขึ้นดอกเบี้ย
ปลายปีอยู่ที่ (1.25% - 1.5%) กดดันให้ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยและสหรัฐกว้างขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าขึ้นได้เช่นกัน ล่าสุดทะลุ 37 บาท/เหรียญ (อ่อนค่าสุดในรอบ16 ปี)
ประเด็นดังกล่าวอาจสร้างความกังวลว่า กนง. มีโอกาสเร่งขึ้นดอกเบี้ยในวันที่ 28 ก.ย.นี้ มากกว่าคาด (เดิมคาดกนง. ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%) โดยฝ่ายวิจัยฯ ประเมินถ้ามีการขึ้น ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.25% จะกดดันเป้าหมายดัชนีลดลงราว 78 จุด หรือจากดัชนีเป้าหมายปลายปี 1730 จุด เหลือ 1652 จุด
สรุปคือ แรงกดดันการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงที่เหลือของปี บวกกับความกังวล การขึ้นเร่งขึ้นดอกเบี้ยของกนง. ในสัปดาห์หน้า 0.5% เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพเงินบาท น่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาผันผวนในช่วงสั้น
กลยุทธ์เพื่อรับมือกับตลาดหุ้นไทยมีโอกาสกลับมาผันผวนช่วงสั้น แนะนำ