สรุป 'ค่าเงินเยน'โดยสังเขป กับ การแทรกแซง ครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

23 ต.ค. 2565 | 06:05 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ต.ค. 2565 | 13:21 น.

สรุป 'ค่าเงินเยน'ของญี่ปุ่นโดยสังเขป กับ การแทรกแซง ครั้งที่ 2 ของ BOJ จับตาตัวแปร ตลาดพันธบัตรสหรัฐ และการตัดสินใจนโยบายการเงินของญี่ปุ่น 27-28 ตุลาคมนี้

23 ต.ค.2565 - การตัดสินใจเข้าแทรกแซง 'ค่าเงินเยน'ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นครั้งที่ 2 หลัง เงินเยนอ่อนค่าหลุด 150 เยน/ดอลลาร์ อ่อนสุดในรอบ 32 ปี จากแรงกดดันของเงินดอลลาร์สหรัฐ

 

กำลังที่เป็นจับตาในตลาดการเงินโลก ว่าจะเป็นบทเรียนเสียเปล่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ เหมือนครั้งก่อนหน้าหรือไม่ หลังจากยังไม่สามารถทำให้ ค่าเงินเยน กลับมาแข็งค่าในระดับคงที่ได้ และเปิดโอกาสให้นักเก็งกำไรเข้าหาประโยชน์ ขณะตลาดอยู่ระหว่างจับตาว่า BOJ จะมีการเปลี่ยนแปลงจุดยืนหรือไม่ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคมนี้ หรือไม่ 

สรุป \'ค่าเงินเยน\'โดยสังเขป กับ การแทรกแซง ครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ นาย ปุณยวีร์ จันทรขจร (โค้ชเป๊ก) Full Time Trader วิทยากรด้านการลงทุนชื่อดังของไทย ได้โพสต์ข้อความ  กล่าวถึง การเเทรกเเซงค่าเงินเยนครั้งที่สองของ BOJ เพื่อเป็นความรู้แก่นักลงทุน และ ให้เห็นภาพสถานการณ์ตลาดเงินโลกขณะนี้มากยิ่งขึ้น ดังใจความต่อไปนี้ 
 

ทำไม BOJ เข้าแทรกแซง 'ค่าเงินเยน'

  • จากต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินเยนอ่อนไปเเล้วกว่า 30% เมื่อเทียบกับดอลล่าร์ 
  • การที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าเกิดจากการ"เทขาย"เงินเยนอย่างต่อเนื่อง 
  • การเทขายเงินเยน อาจจะมีเเรงจูงใจทั้งจากการที่เงินเยนไม่น่าสนใจหรือมีสิ่งที่ได้ประโยชน์มากกว่าการถือเงินเยนไว้เฉยๆเพราะการถือเงินเยนเเล้วอ่อนค่าเหมือนกำลังถือสินทรัพย์ที่ด้อยค่าลงทุกวัน ( เเล้วจะถือไปทำไม !!?? ) 
  • กลไกเเรกที่ได้ที่เข้าใจได้ง่ายคือการที่ผลตอบเเทนพันธบัตรประเทศอื่นเช่นสหรัฐให้ผลตอบเเทน ( Yield ) สูงกว่าพันธบัตรญี่ปุ่น เงินมันก็ไหลออก ค่าเงินเยนก็อ่อนลงอีก 
  • ฐานะการเงินของประเทศญี่ปุ่น (ดุลการค้า) ที่อ่อนเเอจากการนำเข้าพลังงานที่สูงเป็นประวัติการณ์ เป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนยังไม่มีความมั่นใจในการถือเงินเยน เงินมันก็ไหลออก ค่าเงินเยนก็อ่อนลงอีก 
  • การที่ญี่ปุ่นทำนโยบายที่เรียกว่า Yield Curve Control หรือการกดราคาพันธบัตรให้อยู่ที่ 0.25 % ซึ่งมีต้นทุนคือการพิมพ์เงิน ( Base Money ) มารับซื้อพันธบัตรไม่อั้น เเละนี่คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ Supply ของเงินเยนออกมากกว่าความต้องการ 
  •  
  • การกดผลตอบเเทนพันธบัตรไว้ที่ 0.25% ในอีกมุมคือการ "พยุง" ราคาพันธบัตรไว้ไม่ให้ลง เพราะหากราคาพันธบัตรไหลลงทำให้เกิดการขาดทุนจากราคาพันธบัตรจะทำให้มีผู้เสียหายในวงกว้าง โดยเฉพาะเงินของคนที่อยู่ในกองทุนบำนาญ เเละกองทุนประกันสังคมที่มีหน้าที่รักษาเงินต้น 
  • เเละผลตอบเเทนต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดนี้ ไม่มีอยากเป็นเจ้าหนี้ของญี่ปุ่นเเล้วนอกจาก BOJ >>> เราเลยได้ยินคำว่า The Lender of the Last Resort หมายถึงเป็นคนทียืนเป็นคนสุดท้ายในการปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลซึ่งก็คือธนาคารกลางนั่นเอง 

 

สรุป 'ค่าเงินเยน' โดยสังเขป

จากนโยบายการเงินที่เพิ่ม Supply เงินเยนในตลาดมหาศาล เเต่ Demand กลับหายไป ทั้งเหตุจากผลตอบเเทนพันธบัตรญี่ปุ่นที่ไม่น่าสนใจ เเละการยิ่งถือเงินเยนยิ่งขาดทุนยิ่งทำให้ปริมาณเงินเยนเเซงหน้าความต้องการถือเงินเยนไปมาก เเละกลไกตลาดเเบบนี้เป็นธรรมชาติที่ราคาจะลง (อ่อนค่า)

 

การเเทรกเเซงของ BOJ สามารถประคองค่าเงินเยนได้ดีในระยะสั้น โดย (21 ตค.) เงินเยนเเข็งค่าขึ้นทันทีจากระดับ 152 เยนมาที่ 147 เยน เเละอย่างน้อยที่สุดน่าจะ "ชะลอ" ปริมาณ Short Position ที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงินเยนได้ เเต่ในระยะยาวเรื่องนี้คาดการณ์ได้ยากว่าจะจบยังไง 

 

ทั้งนี้ นายปุณยวีร์  ยังระบุว่า ตลาดพันธบัตรเป็นตลาดที่ใหญ่มากทั้งในมุมการเป็น Source of Fund ของรัฐบาล เป็นเเหล่งเงินทุนของประเทศ เพราะฉะนั้น Bond Market เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบให้กับทุกตลาดเสมอ จึงเป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตาม และ หน้าที่สำคัญอีกอย่างพันธบัตรคือการเป็น Collateral หรือหลักประกันที่เชื่อถือได้ เเละหลักประกันพวกนี้เเหละเอาไปวางไว้เพื่อกู้ยืมเงินกันต่อ เเละต่อยอดเป็นสินค้าทางการเงินได้อีกมากมายจนวุ่นวายไปหมด 

 

" ดอกเบี้ยในอีกเเง่มันคือ"ราคา"ของเงิน เพราะฉะนั้นในจังหวะที่ราคาของเงินมันเเพงขึ้น มันทำให้เงินสดหายากขึ้น เเล้วพอเงินสดมันหายากขึ่้น สภาพคล่องมันก็น้อยลง เเล้วทุกตลาดที่สภาพคล่องน้อยลง ความผันผวนจะเป็นสิ่งที่เกิดตามมาเสมอ  100 เยนตอนนี้ใช้เงินบาทไทยเพียง 25-26 บาทในการเเลก ในมุมของการ DCA ค่าเงินในโซนนี้เพื่อไปใช้จ่ายที่ญี่ปุ่น ก็ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี "