22 พฤศจิกายน 2565 จากกรณีที่บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ว่า ตามที่บริษัทฯ ในฐานะลูกหนี้ ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางภายใต้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาแล้ว โดยศาลล้มละลายกลางได้กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 นั้น
เมื่อวันที่ 11 พ.ย 65 ที่ศาลล้มละลายกลาง ศาลมีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ฟฟ21/2565ที่ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ IFEC ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และแต่งตั้งลูกหนี้ เป็นผู้ทำแผนซึ่งมีผู้คัดค้าน 1 ราย คือ นางสมศรี จีระวิพูลวรรณ ยื่นคำคัดค้านว่า การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
โดยศาลเห็นว่า ข้อเท็จจริงวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพิเคราะห์คำร้องขอคำคัดค้านคำร้อง ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย เบื้องต้นตามคำร้องฉบับลงวันที่ 9 ก.ย.65 และคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ในปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นแล้ว
ปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นที่จะต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า ลูกหนี้ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ภายในระยะ 6 เดือนนับแต่ศาลได้เคยมีคำสั่งยกคำร้องขอ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/5(3) หรือไม่
เห็นว่า ในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.14/2561คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.25/2561 นางสมศรี จีระวิพูลวรรณ เจ้าหนี้ ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ เมื่อวันที่15 ก.พ.64
ต่อมาลูกหนี้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษและยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ มีคำสั่งอนุญาตให้ลูกหนี้ ถอนอุทธรณ์ จำหน่ายคดีจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ศาลล้มละกลางอ่านคำสั่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2565 ตามสำเนาคำสั่งศาลล้มละลายกลาง อุทธรณ์ของลูกหนี้ คำร้องขอถอนอุทธรณ์ของลูกหนี้และคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ คำร้องที่ คล 1 พ.ศ.2565 อนุญาตให้ลูกหนี้ถอนอุทธรณ์
ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น คำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ จึงถึงที่สุด ตั้งแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ คือ วันที่ 24 ส.ค.2565 ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยประเด็นเรื่องการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 132(1) ประกอบ พรบ.จัดตั้ง ศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
เมื่อลูกหนี้ผู้ร้องขอยื่นคำร้อง ขอฟื้นฟูกิจการในคดีนี้ ในวันที่ 7 ก.ย.2565 จึงยังอยู่ภายในระยะ 6 เดือนนับตั้งแต่ศาลล้มละลายกลางเคยมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ อันถึงที่สุดในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.14/2561 คดีหมายเลขแดงที่ พ.25/2561 ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/5(3) ปัญหาข้อกฎหมายอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยชี้ขาดเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ด้านนางสาวเยาวลักษณ์ ฤทธิ์สมจิตต์ ตัวแทนผู้ถือหุ้น IFEC เปิดเผยว่า ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของ IFEC โดยไม่ต้องไต่สวน และศาลอุทธรณ์ชำนาญพิเศษก็มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้น อันแสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านหนี้สินที่มีมากกว่าทรัพย์สินถึงเกือบ 5,000 ล้านบาท และเป็นผลจากการที่ผู้บริหารมีคดีความที่ถูกฟ้องร้องส่วนตัวเป็นจำนวนมากทำให้ไม่มีความน่าเชื่อถือที่จะให้ฟื้นฟูกิจการ ปัจจุบันบริษัท IFEC ถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายมากกว่า 10 คดี หากผู้บริหารไม่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้จะทำให้บริษัท IFEC ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายในที่สุด