จากกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและชัดเจนขึ้น โดยธปท.ประกาศปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ให้กลับเข้าสู่อัตราปกติที่ 0.46% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566
จากที่ประกาศปรับลดเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือ 0.23%ต่อปี เพื่อลดต้นทุนสถาบันการเงิน ให้ส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.40% ไปแล้วก่อนหน้านี้
ส่งผลให้ธนาคารจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในอัตรา 0.40% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์(SCB)ได้ประกาศขึ้นอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 0.40% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 โดยรายละเอียดเงินกู้ ประกอบด้วย
-อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เป็น 6.15% ต่อปี
-อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เป็น 6.745% ต่อปี
-และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เป็น 6.52% ต่อปี
ตามมาด้วย ธนาคารเรุงไทย(KTB)ขยับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้
-ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เท่ากับ 6.15% ต่อปี
-ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เท่ากับ 6.72%ต่อปี และ
-อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) 6.77% ต่อปี
ถัดมาคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 0.40% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
-ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.48%
-ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.725%
-สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพิ่มขึ้น 0.40% เป็น 6.65%
และ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK)ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีผล 3 ม.ค.2566 ดังต่อไปนี้
-อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ปรับเพิ่ม 40 % จาก 5.97% เป็น 6.37%
-อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ปรับเพิ่ม 40% จาก 6.34% เป็น 6.74%
-อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ปรับเพิ่ม 40% จาก 6.10% เป็น 6.50%