ห่วงแอลนิโญซ้ำเติม"เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจ"
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)หรือแบงก์ชาติ กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า โดยระบุว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ให้น้ำหนักแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมาวัฎจักรเศรษฐกิจไทยยังต่างจากเศรษฐกิจสหรัฐ ฉะนั้นปีหน้ายังเป็นแนวนโยบายการเงินปัจจุบันเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางการเงิน
“ เงินเฟ้อคาดการณ์ปรับลดลงมาในส่วนผู้ประกอบการ แต่เงินเฟ้อคาดการณ์ระยะยาวยังอยู่ 1.8% แต่จะกลับมาอยู่ในเป้าหมายอีกครั้ง ส่วนวัฎจักรแอลนิโญรอบนี้มาแรงระดับอูณหภูมิของแอลนิโญรอบนี้จะสูงกว่าในอดีตซึ่งน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว วัฎจักรแอลนิโญ อาจส่งผลราคาอาหารสด”
กนง.ขึ้นRIPหนุนดอกเบี้ยที่แท้จริงบวก
นายภูริชัย รุ่งเจริญกิจกุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า เป้าหมายนโยบายการเงินปัจจุบันคือ ต้องการประคับประคองเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่อเนื่องกลับสู่ระดับศักยภาพ ด้านเงินเฟ้ออยากให้กลับสู่กรอบเป้าหมาย และดำรงอยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน
“Actionที่ทำไปแล้ว คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นทั้งหมด 6ครั้งเริ่มมาในเดือนส.ค.2565จนปัจจุบันอยู่ที่ 2.0%ต่อปีส่วนระยะต่อไป “ คณะกรรมการฯ เห็นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวอย่างค่อยเป็นค่อยไป”
นายภูริชัยกล่าวว่า ระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีศักยภาพระยะยาวคือ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางต่อเศรษฐกิจ(Neutral interest rate (r*) หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่งไม่ผ่อนคลายและไม่ตึงตัว พยายามรักษาเศรษฐกิจให้คงอยู่ในระดับ ศักยภาพและสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อระยะยาว
ทั้งนี้ เทรนด์ 15ปีที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีแนวโน้มที่ลดลงประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวแต่เป็นกันทั้งโลก นอกจากนี้ช่วงโควิดคณะกรรมการกนง.ปรัลลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50%ต่อปีซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และกำลังจะดึงให้กลับสู่ระดับปกติมากขึ้น ภายใต้แผนปัจจุบันคงค่อยๆดำเนินนโยบาย กลับสู่จุดระดับอัตราดอกเบี้ยสูงสุด(Terminal rate) ซึ่งไม่ควรสูงหรือต่ำจากระดับ Neutral interest rate (r*) มาก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำนึงถึงความเสี่ยงและการรักษาเสถียรภาพระยะยาวโดยธนาคารกลางมีความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด/ผ่อนคลายขึ้นอยู่กับความท้าทายช่วงนั้น เช่น เศรษฐกิจร้อนแรงหรือต้องการสนับสนุนด้านไหน
พร้อมระบุถึง 3ปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบัน ได้แก่ 1.แนวโน้มเศรษฐกิจ (แรงขับเคลื่อนจากภาคท่องเที่ยวอาจแรงกว่าคาด หรือแรงส่งจากนโยบายภาครัฐในระยะข้างหน้า)
2. แนวโน้มเงินเฟ้อ (การส่งผ่านต้นทุน โดยเฉพาะหากมีแรงกดดันด้านอุปทานเพิ่มเติม ,แรงกดดันด้านอุปสงค์) และ 3. ผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านต่ำ โดยเฉพาะผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนั้นที่ผ่านมา
พบว่า ธนาคารพาณิชย์มีการดูแลโดยส่งผ่านMRRน้อยกว่า ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่จะส่งผ่านดอกเบี้ยMLR และMRRพร้อมกันสะท้อนธนาคารดูแลกลุ่มเปราะบางเป็นพิเศษ ทั้งนี้ นโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจำเป็นต้องยืดหยุ่น สอดคล้องกับแนวโน้มและความเสี่ยงในระยะข้างหน้า
“ การจะนำอัตราดอกเบี้ยไปสู่ระดับ “อาร์สตาร์: r*” ไม่สามารถระบุตัวเลขได้ เพราะ r*มีความไม่แน่นอนสูงมาก แต่ประเทศไทยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเกาะอยู่กลางประมาณ 3% อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเกินศูนย์มาระดับหนึ่ง อย่างน้อยควรอยู่ระดับที่เป็นบวก”
เงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงมากกว่าความเสี่ยงด้านต่ำ
นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในส่วนของเงินเฟ้อภาพรวม แนวโน้มลดลงแต่มีความเสี่ยงด้านสูง ปีนี้เงินเฟ้อทั่วไปคาดไว้ที่ 2.5% ปีหน้า 2.4% โดยปีนี้ปรับลดลงจากแรงกดดันด้านอุปทาน (ค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่สูงเช่นที่ประเมินไว้) ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน ปีนี้ 2%และปีหน้าทรงตัวในระดับสูงที่ 2%
สำหรับสาเหตุอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลงนั้น มาจากภาครัฐ Subsidyค่าไฟฟ้าชั่วคราวเพิ่มเติมเฉพาะเดือนพ.ค. และผลของฐานปีที่แล้ว แต่คาดว่าช่วงท้ายปีมีความเป็นไปได้ที่เงินแฟ้อจะปรับสูงขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่การลดลงของเงินเฟ้อ Underlying Inflation Trend ลดลงจาก 3.4 เป็น 3.3เท่านั้น ในส่วนของSticky Price CPIลดลงเป็น 2.7 จาก 2.8
“อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงมากกว่าความเสี่ยงด้านต่ำ โดยมาจากการส่งผ่านที่อาจจะมากขึ้น จากต้นทุนที่ไม่ได้ส่งผ่าน ,แรงกดดันด้านอุปสงค์จากปีนี้การท่องเที่ยวจะฟื้นตัวมากขึ้น หรือแรงกดดันจากนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่ทั้งขนาดและไทม์มิ่งยังไม่แน่นอน
ในส่วนของความเสี่ยงด้านลบนั้นเศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอกว่าคาดหรือนโยบายพรรคการเมืองที่มีการปรับโครงสร้างพลังงานทำให้ค่าไฟฟ้าลดลง เหล่านี้ยังมีความไม่แน่นอนเช่นกัน โดยรวมระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงด้านสูงมากกว่าความเสี่ยงด้านต่ำ”
อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อทั่วไป ที่ปรับลดลงจากราคาหมดพลังงานเป็นหลักแต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังมีโมเมนตัมเป็นบวกต่อเนื่อง ซึ่งต้องติดตามเครื่องชี้แนวโน้มเงินเฟ้อ ที่สะท้อนUnderlying inflation Pressures โดยรวมยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอดีต และลดลงช้ากว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นอีก 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือ 10% อาจทำให้ทั้งปีเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มได้อีก 0.50% จากระดับที่คาดการณ์ไว้ และประมาณการเงินเฟ้อของธปท.ได้คำนวณในส่วนของแอลนิโญไว้แล้ว เพราะแอลนิโญจะมีผลต่อเนื่องกับอาหารสด รวมถึงเป็นต้นทุนและอาหารสัตว์ต่างๆ นอกจากผัก ผลไม้แล้ว ดังนั้น ประมาณการอัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงด้านสูงโดยเฉพาะในปี 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มต่อเนื่อง
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขจริงในไตรมาสที่ 1/2566 โดยธปท.ยังคงคาดการณ์เดิมในปีนี้ที่ระดับ 3.6% และปี 2567 ที่ 3.8% โดยมาจากแรงส่งภาคการท่องเที่ยวปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 29 ล้านคน
และปีหน้า 35.5 ล้านคน และการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4.4% และขยายตัวต่อเนื่องในปี 2567 ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากประมาณเดิม -0.7% มาอยู่ที่ -0.1% และคาดว่าการส่งออกไทยจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ระดับ 3.6% ในปี 2567
สำหรับภาพรวมเรื่องจีดีพีไม่เปลี่ยนจากครั้งก่อน อาจจะมีจุดที่เรากลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิดแล้วในไตรมาส1 มองไปข้างหน้า ภาพนักท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ถ้าการจัดสรรเที่ยวบินในจีนทำได้ดีมีโอกาสอัพไซด์
ฉะนั้นตลาดแรงงานกลับสู่ปกติทั้งระบบประกันสังคม อาชีพอิสระ ความคาดหวังจำนวนนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวทำให้การบริโภคมีแนวโน้มยังดี เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมปรับเพิ่มต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นปัจจุบันและ6เดือนข้างหน้ายังเป็นบวก
นอกจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแต่ละสาขาอาชีพที่ปรับตัวดีขึ้น (เช่น ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอยู่ที่ 57 พนักงานเอกชน 52.5 ภาคเกษตร 52.1 ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือนอกภาคเกษตรอยู่ที่ 51.1รวมทั้งองค์ประกอบย่อย ทั้ง การฟื้นตัว โอกาสการหางานทำและในแง่รายได้ เป็นต้น