ธปท.เปิดทางลูกหนี้เรื้อรัง จบหนี้ภายใน 3.5-5ปี เล็งใช้เกณฑ์DSRปี68

21 ก.ค. 2566 | 10:24 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ค. 2566 | 12:22 น.

“ลูกหนี้แบงก์ รายได้ต่ำกว่า 20,000บาทต่อเดือน /รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทเป็นลูกหนี้นันแบงก์” ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น ดอกเบี้ยEIR 15% ต่อปีพร้อมเปิดรับสมัครผู้ประกอบการทดสอบ “คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยง” ไตรมาส2ปีหน้า

ภายใต้การปรับปรุงข้อมูล หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1ปี2566 จำนวน 16ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 90.6%ต่อจีดีพี ซึ่งสูงกว่าระดับเฝ้าระวังที่ 80% ซึ่งเห็นความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ด้วยการทยอยออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้นรวมทั้งประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อนำพาครัวเรือนไทยให้ก้าวข้ามภาระหนี้ และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 ปัจจุบันอยู่ระหว่างจะออกมาตรการที่จะบังคับใช้ก่อน คือ หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อตลอดวงจรหนี้  ตั้งแต่ก่อนก่อหนี้  ระหว่างเป็นหนี้  เมื่อมีปัญหาชำระหนี้

ธปท.เปิดทางลูกหนี้เรื้อรัง จบหนี้ภายใน 3.5-5ปี เล็งใช้เกณฑ์DSRปี68

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า "การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม" นั้นเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นผู้ให้บริการให้สินเชื่อ มีความรับผิดชอบ และเป็นธรรมตลอดช่วงของการเป็นหนี้ (Debt Journey) ซึ่งขอบเขตของการบังคับใช้ เริ่มจากกลุ่มลูกหนี้รายย่อยได้แก่ บัตรเครดิต สินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้กำกับโดยครอบคลุมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล  สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ สินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน รวมถึงสินเชื่ออุปโภคบริโภค อื่นๆ ของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs )และนันแบงก์

" การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม" หลักการสำคัญคือ การตัดสินใจของลูกหนี้ อยู่บนข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ลูกหนี้ไม่ถูกกระตุ้นให้ก่อหนี้เกินตัว หรือลูกหนี้เป็นหนี้เมื่อใจไหวและกู้ยืมตรงวัตถุประสงค์ และลูกหนี้ที่มีปัญหาชำระหนี้ ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ ธปท.อยากเห็น ผู้ให้บริการให้ข้อมูล เพื่อกระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ ให้มีวินัยทางการเงินมากขึ้น ตั้งแต่ก่อนหรือกำลังจะเป็นหนี้ ตั้งแต่การโฆษณา/เสนอขายผลิตภัณฑ์จะต้องระบุข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน  ครบถ้วน  เปรียบเทียบได้( อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายระยะเวลาที่ผ่อนชำระ) ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว  สัญญาเป็นธรรม

ในแง่ของการพิจารณาต้องคำนึงถึง" ลูกหนี้จ่ายไหว และมีเงินเหลือพอดำรงชีพภายหลังการผ่อนชำระแล้ว และเห็นและเห็นเส้นทางปิดจบหนี้สำหรับการแก้ไขหนี้เรื้อรัง หรือการแก้ไขหนี้ ด้วยการช่วยเหลือ ที่เหมาะสม ทั้ง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ก่อนมีปัญหา หรือ ก่อนดำเนินคดี กรณี การโอนขายหนี้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ลูกหนี้ ต้องรับรู้สิทธิ์และ กำหนดการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกหนี้

"ระหว่างเป็นหนี้" ผู้ให้บริการต้องแจ้งเตือนก่อนที่ลูกหนี้จะมีภาระหนี้หรือต้นทุนเพิ่มขึ้น กรณีเป็นหนี้เรื้อรังสามารถแจ้งให้เพิ่มการชำระหรือติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อแก้ไขให้จบหนี้ได้เร็วขึ้นและส่งเสริมให้จ่ายหนี้ตรงเวลา รวมถึงแจ้งลูกหนี้ไปศาล

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ส่วนหนึ่งของเกณฑ์ Responsible Lending คือ การกำหนดแนวทางให้เจ้าหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรัง (persistent debt) หรือกลุ่มที่ยังจ่ายหนี้ได้ตามปกติ แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้ เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ

-PDจบหนี้ 5ปัไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น

- มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (Persistent Debt:  PD) คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 โดยเริ่มจาก ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นวงเงินหมุนเวียน (Revolving P-Loan) มีสถานะเป็นลูกหนี้ปกติจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าจ่ายเงินต้น แบ่งเป็น

1.ลูกหนี้ ที่ จ่ายชำระมานาน 3 ปีย้อนหลัง  มีสัญญาณเป็นหนี้เรื้อรัง(General PD ) ผู้ให้บริการ จะส่งข้อความแจ้งเตือน แนะนำให้จ่ายชำระหนี้ต่อเดือนให้มากขึ้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น

2. ลูกหนี้เรื้อรัง ( Severe PD) ที่จ่ายชำระหนี้มานาน 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งเป็นหนี้เรื้อรัง ภายใต้เงื่อนไข เป็นลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000บาทต่อเดือนกรณีเป็นลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์และเป็นลูกหนี้ของนันแบงก์ และอื่นๆ มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท(ซึ่ง ภายใน 1 ปีจะพิจารณาผลกระทบเพื่อปรับเงื่อนไขต่อไป)โดยลูกหนี้กลุ่มนี้ สามารถสมัครเข้าร่วมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ภายใต้ PD และมีเงื่อนไข ให้จบหนี้ภายใน 5 ปีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง(EIR ) 15% ต่อปี โดยที่ลูกหนี้ ไม่สามารถเบิกเงินเพิ่มได้ จนกว่าจะปิดจบหนี้ยกเว้นกรณีฉุกเฉินและควรมีการ รายงานประวัติข้อมูลเครดิตว่า เข้าปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ PD เพื่อสะท้อนความตั้งใจและความมีวินัยของลูกหนี้

"ลูกหนี้เรื้อรังมีจำนวนรายมากแต่วงเงินกู้ไม่สูง ประมาณ 5แสนบัญชีแต่กลุ่มนี้กู้ไม่เยอะวงเงินกู้ตั้งแต่ 1หมื่นบาทโดยกำหนดรายได้ขั้นต่ำ"

ต่อความกังวลว่าลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระค่างวดสูงขึ้นหรือไม่นั้น   เห็นได้จากตัวอย่างกรณีลูกหนี้มีวงเงินกู้ (revolving) 1.5 หมื่นบาท หากเข้าปรับหนี้ภายใต้Persistent Debt ลูกหนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเหลือ EIR ไม่เกิน 15% ต่อปี ยอดจ่ายต่อเดือน 260 บาท จะปิดหนี้ โดยใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่งและจ่ายดอกเบี้ย 2,500 บาทโดยรวมจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด 17,500 บาทโดยสามารถประหยัดดอกเบี้ยรวม 11,500 บาท

ตัวอย่าง: ลูกหนี้ไม่เข้าปรับหนี้ภายใต้ Persistent Debt:

ลูกหนี้วงเงินกู้(revolving) 1.5 หมื่นบาทดอกเบี้ย 25% ต่อปี จ่ายชำระขั้นต่ำ3%ต่อปี ของยอดคงค้าง (ไม่มีการเบิกใช้เงินเพิ่ม)  เฉลี่ยประมาณ 400 บาทต่อเดือนแต่ยอดจ่ายต่อเดือนจะลดลงเรื่อยๆ โดย มูลหนี้ดังกล่าวจะสามารถปิดได้ภายในระยะเวลา 18 ปีเท่ากับลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่า 29,000 บาท

-ไตรมาสที่ 2ปี 2567 เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าทดสอบใน Sandbox

นางสาวสุวรรณีกล่าวเพิ่มเติมว่า  ในส่วนของกลไกการคิดดอกเบี้ยให้สอดคล้งกับเครดิต หรือความเสี่ยงของผู้ลูกหนี้ หรือ" การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้(Risk-Base Pricing: RBP ) ซึ่งผู้กู้ที่มีความเสี่ยงต่ำจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงตามความเสี่ยง "เสี่ยงสูง...กู้ได้....เสี่ยงต่ำ..กู้ถูก"   ที่ผ่านมาพบว่าลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินเพดานต้องกู้นอกระบบในอัตราดอกเบี้ยที่แพง เฉลี่ยคนละ 54,300 บาท ดอกเบี้ย 100-300% ต่อปี และมีลูกหนี้ในระบบส่วนหนึ่ง ถูกคิดดอกเบี้ยติดเพดาน

ทั้งนี้ ภายในไตรมาสที่ 2ปี 2567 ธปท.จะเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าทดสอบโครงการ Sandbox สำหรับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (RBP) ซึ่งจากสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และนาโนไฟแนนซ์ ใช้เวลาทดสอบ 1-2 ปี หากสำเร็จก็ให้บริการในวงกว้าง แต่กรณีไม่สำเร็จจะหยุดการทดสอบ กลับไปให้สินเชื่อภายใต้เพดานปัจจุบัน (สินเชื่อไม่มีหลักประกันเพดานดอกเบี้ย 25% ต่อปี และนาโนไฟแนนซ์อยู่ที่ 33% ต่อปี)

-เล็งใช้เกณฑ์ DSR 1 ม.ค.68 รายได้ต่ำ 3 หมื่น ไม่เกิน 60%

นางสาวสุวรรณี กล่าวว่า สำหรับการกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (debt service ratio: DSR) ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ (macroprudential policy) เพื่อดูแลการก่อหนี้ใหม่ ลดการก่อหนี้เกินตัว ให้ลูกหนี้มีรายได้หลังชำระหนี้เพียงพอต่อการดำรงชีพ  โดยระยะแรกจะเริ่มใช้กับสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของปัญหาหนี้ครัวเรือนก่อน

ทั้งนี้ ธปท.กำหนดกลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่า 3หมื่นบาทสัดส่วน DSR ต้องไม่เกิน 60% และรายได้มากกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน สัดส่วน DSR 70% และสามารถขยีลได้ถึง 90% โดยสินเชื่อที่ปล่อยให้ลูกหนี้กลุ่มนี้จะต้องมียอดไม่เกิน 15% ของสินเชื่อใหม่ เบื้องต้น ธปท. มีแผนจะบังคับใช้มาตรการนี้ในปี 1 มกราคม 2568 โดยจะประเมินสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจอีกครั้ง

ธปท.เปิดทางลูกหนี้เรื้อรัง จบหนี้ภายใน 3.5-5ปี เล็งใช้เกณฑ์DSRปี68