มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2566 ซึ่งกรมสรรพากรเปิดให้ยื่นภาษีได้กรณีแบบเอกสาร หรือกระดาษ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2567 หรือจะยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ถึง 8 เมษายน 2567
สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรบ้าง
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว
กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ทันทีที่ทำการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91)
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
3.ค่าลดหย่อนบุตร กฎหมายกำหนดเงื่อนไขการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตร 2 ข้อ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
- ค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรม
สำหรับผู้ที่มีบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรได้สูงสุด 3 คน และจะต้องเป็นบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
เงื่อนไขการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตร
4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา
- ค่าลดหย่อนบิดามารดาตัวเอง กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่เลี้ยงดูพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนพ่อแม่ได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ
หมายเหตุ : การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบิดามารดา สำหรับคนมีพี่น้องต้องตกลงกันว่า ใครจะเป็นผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพ่อแม่ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ ค่าลดหย่อนบิดามารดา ไม่สามารถยื่นขอใช้สิทธิซ้ำกันได้
- ค่าลดหย่อนบิดามารดาคู่สมรส ในกรณีที่คุณดูแลพ่อแม่คู่สมรส กฎหมายกำหนดให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพ่อแม่คู่สมรสได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า
5 ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือทุพพลภาพ
หากคุณเป็นผู้ดูแลหรืออุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานคือ
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และจะต้องเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่จ่ายตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
กลุ่มประกันสุขภาพและประกันชีวิต
1.ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี
ในกรณีที่คุณจ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตในช่วงปีที่ผ่านมา สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายตลอดทั้งปีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
2.ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้มี 2 กรณี คือ
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายมาตลอดทั้งปี ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท และจะต้องเป็นประกันสุขภาพในกลุ่มต่อไปนี้
3.ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และพ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องให้พ่อแม่มีอายุครบ 60 ปี
4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษี
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และสามารถใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องเป็นประกันบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำและจะต้องทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
5.ค่าลดหย่อนประกันสังคม
อัตราเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี ( ตามอัตราสมทบเงินประกันสังคมที่ 5% คำนวณจากเพดานที่ 15,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกินเดือนละ 750 บาท )
กลุ่มการออมและลงทุน
1.กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (กองทุน Thai ESG) ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท (ค่าลดหย่อนภาษี กองทุน Thai ESG สูงสุด 100,000 บาท ได้รับเพิ่มนอกเหนือจากวงเงินลดหย่อนภาษีการออมเพื่อเกษียณ 500,000 บาท )
2.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 และมีเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมดังนี้
3. กองทุนรวมเพื่อการออม SSF
สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษี ตามที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 และมีเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติมดังนี้
4.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
5.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
6.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
อนึ่งเมื่อรวมกับ"กองทุนเพื่อการเกษียณ" ข้อ 2 ถึงข้อ 6 ( ได้แก่ กองทุนออมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF, กองทุนรวมเพื่อการออม SSF, กบข, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) , กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ เบี้ยประกันแบบบำนาญ รวมกันแล้วจะต้องลดหย่อนภาษีไม่เกิน 500,000 บาท )
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ลดหย่อนภาษี
สามารถนำรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้บ้านในรอบปี 2566 มาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่ซื้อแบบกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยตามจำนวนคนร่วมกู้ โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ
2.ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษี
สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 มาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2566 ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็น 2 ส่วนคือ
1. ค่าสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก สามารถใช้ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบแบบกระดาษ หรือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
2. ค่าสินค้าหรือบริการ 10,000 บาทที่เหลือ ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีเท่านั้น (สามารถตรวจสอบ รายชื่อผู้ประกอบการหรือร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th)
และมีเงื่อนไขที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ คือ
3.เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise ( วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนภาษี โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
เงินบริจาคลดหย่อนภาษี ตามที่กฎหมายกำหนดประกอบไปด้วย
1.บริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า กรณีบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
2.บริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหัก
3.บริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษี สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท